Thursday, June 11, 2009

ข้อมูล Paypal

1. ข้อมูลเบื้องต้น

Paypal Inc. (www.paypal.com) เป็นบริษัทออนไลน์ที่ให้บริการระบบโอนและชำระเงินผ่านอีเมล์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค
(C-to-C Payment) หรือระหว่างบุคคลกับบุคคล (P-to-P Payment) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 1998
และเริ่มให้บริการเมื่อเดือนตุลาคม 1999 ในระหว่างปีแรกที่ให้บริการ บริษัทมีลูกค้าเข้ามาลงทะเบียนเป็นสมาชิกกว่า 3 ล้านราย
และมีธุรกรรมต่อวันมากกว่า 100,000 ธุรกรรม

บริการทั่วๆไปที่ลูกค้านิยมใช้บริการผ่าน Paypal ได้แก่ การโอนเงินระหว่างบุคคลกับบุคคล การชำระเงินค่าสินค้าในตลาด
ประมูลต่างๆโดยเฉพาะตลาดประมูลระหว่างบุคคลกับบุคคลของ Ebay การทำธุรกรรมที่เป็นลักษณะเดียวกับการสั่งจ่ายเช็คระหว่าง
บุคคลกับบุคคล และการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น

ในสหรัฐฯก่อนที่จะมีการให้บริการระบบโอนและชำระเงินออนไลน์เช่นเดียวกับ Paypal การโอนและชำระเงินระหว่างกลุ่มผู้บริโภค
กับผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการชำระด้วยเงินสด การส่งเช็ค การโอนเงิน (Transfer) และการใช้บัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งมีความ
ไม่สะดวกบางประการ กล่าวคือ

  • การชำระเงินด้วยเงินสด ต้องมีการพบปะกันระหว่างทั้งสองฝ่าย
  • แม้ว่าการสั่งจ่ายเช็คระหว่างบุคคลกับบุคคลโดยข้ามธนาคารหรือข้ามรัฐจะไม่มีการคิดค่าบริการก็ตาม
    การส่งเช็คไปยังพื้นที่ที่ห่างไกลต้องใช้ระยะเวลานาน และผู้ที่ได้รับเช็คต้องนำเช็คดังกล่าวไปฝากธนาคารก่อน
    จึงจะสามารถสั่งจ่ายให้แก่ผู้อื่นต่อไปได้
  • การชำระเงินด้วยการโอนเงินมีค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูง
  • การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตยังไม่สามารถชำระโดยตรงระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคได้
ในทางตรงกันข้ามการชำระเงินทางอินเทอร์เน็ตผ่านบริการของ Paypal มีข้อดี คือ
  • สามารถรองรับการทำธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคได้
  • มีต้นทุนในการทำธุรกรรมที่ต่ำและสามารถสั่งจ่ายเงินที่มีมูลค่าน้อย
  • มีความรวดเร็วเสมือนกับการรับและส่งเช็คทางออนไลน์ และสามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2. ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจ

ผู้ที่ต้องการใช้บริการโอนหรือชำระเงินผ่านเครือข่ายบริการของ Paypal ต้องลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกของ Paypal
ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดชื่อบัญชี (Login) และรหัสผ่าน (Password) ได้ด้วยตนเอง โดยลูกค้า
สามารถเลือกเปิดบัญชีส่วนบุคคลหรือบัญชีแบบ Premier ซึ่งจะมีวงเงินในการรับชำระด้วยบัตรเครดิตและคิดค่าบริการที่แตก
ต่างกันดังแสดงในตารางที่ 1 ในการลงทะเบียน ลูกค้าต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

  • เปิดบัญชีธนาคารประเภทใช้เช็ค (Checking Account) เพื่อใช้สำหรับการโอนเงินฝากไว้ในบัญชี
    หรือต้องการปิดบัญชีที่เปิดไว้กับ Paypal
  • ฝากเงินขั้นต่ำไว้ในบัญชีที่เปิดไว้กับ Paypal 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยในอัตรา
    ที่ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยของตลาด
  • แจ้งที่อยู่อีเมล์ (Email Address) ซึ่งจะใช้ในการติดต่อและทำธุรกรรม

2.1) ผู้ส่งเงินหรือผู้โอนเงิน

  1. เมื่อลงทะเบียนแล้ว สมาชิกจะสามารถใช้บริการโอนเงินหรือชำระเงินให้แก่ผู้อื่นผ่านเว็บไซต์ของ Paypal
  2. ในขั้นตอนการโอนเงิน สมาชิกต้องแจ้งชื่อและนามสกุลของผู้รับ จำนวนเงินที่ต้องการโอน และอีเมล์ของผู้รับ
  3. หลังจากยืนยันการโอนเงินแล้ว บริษัทจะส่งอีเมล์แจ้งหมายเลขยืนยันการโอนเงิน เพื่อให้ผู้โอนเงินใช้อ้างอิง
    ส่วน ผู้รับจะได้รับอีเมล์แจ้งให้ทราบว่ามีการโอนเงินให้ผ่านบริการของ Paypal โดยผู้รับจะสามารถรับเงิน
    จำนวน ดังกล่าว ตามขั้นตอนที่จะกล่าวถึงต่อไป
  4. เมื่อผู้รับได้รับเงินเรียบร้อยแล้ว บริษัทจะส่งอีเมล์ยืนยันการรับเงินดังกล่าวให้แก่ผู้โอนเงิน อย่างไรก็ตาม
    บริษัทอนุญาตให้ผู้โอนเงินสามารถยกเลิกการโอนเงินได้ทุกเวลาก่อนที่ผู้รับจะได้รับเงิน

    2.2) ผู้รับเงิน

    1. เมื่อได้รับอีเมล์แจ้งการโอนเงิน ผู้รับต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิกของ Paypal เช่นเดียวกับผู้โอนเงิน โดยไม่ต้อง
      เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
    2. เมื่อลงทะเบียนแล้ว ผู้รับจะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวและเก็บในบัญชีที่เปิดไว้กับ Paypal โดยจะสามารถโอนเงิน
      จ่ายให้แก่ผู้อื่นได้ต่อไป

    2.3) การปิดบัญชี

    เมื่อลูกค้าต้องการปิดบัญชีที่เปิดไว้กับ Paypal ลูกค้าจะต้องแจ้งให้บริษัททราบ โดยบริษัทจะส่งเงินทั้งหมดที่มีอยู่
    ในบัญชีของลูกค้าดังกล่าวในรูปของการส่งเช็คทางไปรษณีย์ การโอนเงินผ่านบัตรเครดิต หรือการโอนเงินในบัญชีคืน
    ให้แก่ลูกค้า ซึ่งไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีใดก็ตาม ลูกค้าจะใช้เวลารอรับเงินนานประมาณ 1 ถึง 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามลูกค้า
    ส่วนใหญ่ จะเก็บรักษาเงินจำนวนดังกล่าวไว้ใช้ซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ต่อไป ในปัจจุบัน บริษัทกำลังจัดทำโครงการให้
    บริการบัตรเดรบิต (Debit Card) เพื่อเพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าตามร้านค้าปกติ (Offline)


3. การประกอบการ

รายได้หลักของบริษัทจะมาจากค่าธรรมเนียม (Fee) ซึ่งจัดเก็บจากผู้รับเท่านั้น ดังตารางที่ 1

ประเภทบัญชี ค่าธรรมเนียมบริการ
ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่รับ
. น้อยกว่า $15 ตั้งแต่ $15 ขึ้นไป
บัญชีส่วนบุคคล* ไม่คิดค่าบริการ ไม่คิดค่าบริการ
บัญชีแบบ Premier $0.30 2.2% + $0.30
* กำหนดให้รับโอนเงินจากบัตรเครดิตได้ไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มา: http://www.paypal.com

เมื่อต้นปี 2001 Paypal มีสมาชิกเกือบ 7 ล้านราย และมีร้านที่เปิดรับชำระเงินจาก Paypal กว่า 7,000 แห่ง โดยในแต่ละวัน
มีจะมีปริมาณการโอนและชำระเงินเงินผ่านระบบของ Paypal กว่า 160,000 ครั้งต่อวัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัน

4. จุดเด่นในการประกอบธุรกิจ
จุดเด่นในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของ Paypal คือ การประกอบธุรกิจที่สามารถหาช่องว่างของตลาดการ
โอนและชำระเงินระหว่างบุคคลกับบุคคล โดยการใช้อีเมล์เป็นสื่อกลางในการแจ้งการทำธุรกรรมแต่ละครั้งให้ลูกค้าทราบ ซึ่งทำให้
บริษัทสามารถให้บริการลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการให้บริการแบบเดิมที่เป็นการชำระเงินด้วยเงินสด การใช้เช็ค
การโอนเงิน และการใช้บัตรเครดิต

จุดเด่นอีกประการหนึ่งของ Paypal คือ การคิดอัตราค่าบริการของ Paypal อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าค่าธรรมเนียมบริการของบัตร
เครดิตซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 ถึง 5 ของมูลค่าที่ชำระเงิน และค่าธรรมเนียมบริการโอนเงินของธนาคารซึ่งคิดค่าบริการขั้นต่ำ
อยู่ที่ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ

นอกจากนี้ Paypal มีวิธีการหาลูกค้าโดยการกระจายสมาชิกจากผู้ส่งเงินไปสู่ผู้รับชำระเงินอย่างเป็นลูกโซ่ โดยกำหนดให้ผู้ที่จะ
รับเงินจากผู้ส่งในระบบต้องเป็นสมาชิกของ Paypal เท่านั้น ซึ่งทำให้ Paypal มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

5. ปัจจัยในความสำเร็จ
ธุรกิจการให้บริการโอนและชำระเงินออนไลน์เช่น Paypal จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ
  1. สามารถสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าได้ เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจทั้งหมดของ Paypal
    มีความเกี่ยวข้องกับเงินของผู้ใช้บริการ ซึ่งในการทำธุรกรรมแต่ละครั้งลูกค้าจะให้ความสำคัญต่อการรักษาความ
    ปลอดภัยในอันดับต้นๆ ดังนั้น Paypal จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัย
    และความถูกต้องอยู่เสมอ ในระหว่างเริ่มต้นการประกอบธุรกิจ Paypal ได้สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าด้วยการ
    แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา (Board of Advisory) ที่มาจากกลุ่มผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล
    (Encryption Technology)
  2. สามารถคิดค่าบริการในอัตราที่ต่ำกว่าแบบเดิมคือบริการของธนาคารและบัตรเครดิต นอกจากการให้บริการ
    อำนวยความสะดวกและรวดเร็วให้แก่ลูกค้าแล้ว จุดเด่นอีกประการหนึ่งของ Paypal คือ การคิดค่าบริการในอัตรา
    ที่ต่ำกว่าบริการของธนาคารและบัตรเครดิต ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่ง
    บริษัทจำเป็นต้องสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันดังกล่าวไว้ หรือเพิ่มบริการมูลค่าเพิ่มอื่นๆ
    (Value Added) เพื่อจูงใจให้ลูกค้าใช้บริการต่อไป
  3. มีร้านค้าออนไลน์จำนวนมากรับชำระค่าบริการด้วยระบบชำระเงินของ Paypal ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสะดวก
    ให้แก่ลูกค้ามากขึ้น ในปัจจุบันมีร้านค้ากว่า 7,000 แห่ง และเว็บไซต์ประมูลเกือบทั้งหมดที่ยอมรับการ
    ชำระเงินด้วยระบบของ Paypa

6. ธุรกิจอื่นๆ ที่มีโมเดลคล้ายกัน

บริษัทอื่นที่มีโมเดลในการทำธุรกิจที่คล้ายคลึงกับ Paypal ได้แก่ Billpoint (www.billpoint.com) ซึ่งให้บริการชำระเงิน
แก่ลูกค้าของตลาดประมูล Ebay.com c2it (www.c2it.com) ซึ่งให้บริการถอนเงินจากธนาคารและชำระเงิน และ MoneyZap
(www.moneyzap.com) ซึ่งให้บริการชำระเงินออนไลน์

7. โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทย

ในปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์บางแห่งของไทยได้เริ่มให้บริการธนาคารออนไลน์ (Internet Banking) ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถ
โอนหรือชำระเงินระหว่างกันได้ อย่างไรก็ตาม บริการดังกล่าวยังมีความไม่สะดวก หลายประการ เช่น ไม่สามารถใช้กับผู้รับ
ชำระเงินที่หลากหลาย และต้องแจ้งรายชื่อผู้รับชำระเงินก่อนล่วงหน้า เป็นต้น ส่วนการให้บริการในลักษณะเดียวกันกับ Paypal
นั้นยังไม่มีความแน่ชัดว่าจะขัดกับกฎระเบียบใดที่ใช้กำกับดูแลสถาบันการเงิน หรือถือว่าเป็นการออกเงินสกุลใหม่ตามกฎหมาย
เงินตราหรือไม่

ร้านค้าออนไลน์ควรศึกษาและเตรียมความพร้อมที่จะยอมรับระบบชำระเงินออนไลน์ของ Paypal หรือระบบชำระเงินออนไลน์อื่นๆ
ในลักษณะเดียวกัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าของตน

Saturday, June 6, 2009

ลงทุนธุรกิจนวดแผนไทย ตอน 5

อุปกรณ์หลักที่ใช้

1. เตียงนวดตัวหรือเบาะนวดตัว พร้อมหมอน ราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพและวัสดุที่ใช้ มีตั้งแต่
1,500 – 6,500 บาท อุปกรณ์ประเภทนี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านจำ หน่ายอุปกรณ์นวดแผน
ไทย และร้านเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป
2. เตียงนวดฝ่าเท้า ราคาประมาณ 2,700 – 4,000 บาท สถานที่จำ หน่ายเช่นเดียวกับเตียง
นวดตัว
3. เสื้อกราวน์สำ หรับพนักงานนวด ราคาประมาณ 150 – 300 บาท หาซื้อได้ที่ตลาดโบ๊เบ๊
4. เสื้อและกางเกง สำ หรับลูกค้านวดตัว ราคาประมาณ 200 – 300 บาท หาซื้อได้ที่ตลาดโบ๊เบ๊
5. กางเกงสำ หรับลูกค้านวดฝ่าเท้า ราคาประมาณ 100 บาท หาซื้อได้ที่ตลาดโบ๊เบ๊
6. ผ้าปูเตียง ปลอกหมอน ราคาตั้งแต่ 300 บาทขึ้นไป ปกตินิยมสีฟื้น ดูสบายตา หาซื้อได้ที่
ตลาดพาหุรัด หรือสำ เพ็ง
7. ผ้าขนหนู ใช้ห่อเท้ากรณีนวดฝ่าเท้า หาซื้อได้ที่ตลาดโบ๊เบ๊ หรือพาหุรัด
8. ครีมหรือนํ้ามันสำ หรับนวดฝ่าเท้า สถานที่จำ หน่าย เช่น โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระ
เชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ขนาด 1800 ซีซี ราคาขายปลีกประมาณ 650 บาท
9. นํ้ามันนวดตัว สถานที่จำ หน่าย เช่น โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)
ขนาด 4000 ซีซี ราคาขายปลีกประมาณ 580 บาท
10. ไม้กดจุด เป็นอุปกรณ์ที่ทำ ขึ้นจากไม้เพื่อใช้แทนนิ้วมือ ไม้ดังกล่าวใช้กดจุดที่บริเวณฝ่าเท้า
ตามตำ แหน่งศาสตร์ของการนวดฝ่าเท้า ราคาอันละประมาณ 20 บาท ผู้ลงทุนสามารถหา
ซื้อได้ที่สถาบันแพทย์แผนไทยและร้านจำ หน่ายอุปกรณ์นวดทั่วไป

การจ้างพนักงาน
• การสรรหาพนักงานนวด
ผูป้ ระกอบการอาจใช้วิธีประกาศรับสมัครตามโรงเรียน หรือสถาบันสอนนวดแผนไทยที่มีมาตรฐาน
เพราะเป็นแหล่งผลิตบุคลากรโดยตรง รวมถึงการประกาศรับสมัครทางอินเตอร์เน็ต แม้พนักงานนวดจะ
ถูกดึงตัวกันอยู่บ้าง เนื่องจากพนักงานนวดที่มีฝีมือยังมีจำ นวนน้อย แต่ร้านที่มีการบริหารจัดการที่ดี
รวมถึงให้ค่าตอบแทนที่จูงใจและเหมาะสม จะไม่ค่อยประสบกับปัญหานี้สักเท่าใดนัก เพราะโดยส่วนมาก
ถ้าพนักงานมีความพอใจและสบายใจกับงานที่ทำ อยู่ ก็มักอยู่นาน ไม่ย้ายไปไหน

• จำ นวนพนักงานนวด
จำ นวนพนักงานนวดจะขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจเป็นหลัก โดยดูจากจำ นวนเตียงที่ให้บริการ และ
จำ นวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในเวลาเดียวกัน เช่น
ร้านที่มีจำ นวนเตียงให้บริการ 7 เตียง ควรมีพนักงานนวด อย่างน้อย 7 คน เพราะถ้าใน
ช่วงที่ลูกค้าเข้ามาคราวเดียวกัน 7 คน ร้านก็จะสามารถให้บริการได้ แต่ถ้าลูกค้ามามาก
กว่า 7 คน ทางร้านจะต้องจัดสถานที่ให้ลูกค้านั่งรอ
• การทำ งานของพนักงาน
ผู้ประกอบการอาจแบ่งการทำ งานเป็นกะ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเปิดบริการใน 1 วัน เช่น ถ้าร้าน
เปิดบริการตั้งแต่ 9.00 น. – 24.00 น. ผู้ประกอบการอาจแบ่งกะทำ งาน เป็น 2 กะ เช่น กะที่ 1 เวลา
9.00 น. – 17.00 น. กะที่ 2 เวลา 17.00 น. – 24.00 น.
• จำ นวนพนักงานในแต่ละวัน
จำ นวนพนักงานในแต่ละวันอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมลูกค้า เช่น วันธรรมดา ร้านอาจมี
พนักงานนวด 5 คน ต่อเตียงให้บริการ 7 เตียง เนื่องจากจำ นวนลูกค้าไม่ค่อยมากในคราวเดียวกัน ส่วน
วันเสาร์ – อาทิตย์ ลูกค้าจะค่อนข้างมาก ร้านก็ต้องจัดให้มีพนักงาน 1 คน ต่อ 1 เตียง เป็นต้น
• การให้ค่าจ้างแก่พนักงานนวด
ร้านนวดแผนไทยสามารถให้ค่าจ้างแก่พนักงานได้หลายแบบ เช่น
- จ้างเป็นรายวัน โดยแบ่งเปอร์เซ็นต์จากการให้บริการแต่ละครั้ง เช่น เจ้าของ 50% พนักงาน
นวด 50% หรือเจ้าของ 60% พนักงาน 40% แล้วแต่ตกลง กรณีนี้ ทางร้านมักจะไม่มีเงินเดือน
ประจำ ให้ แต่บางแห่ง เจ้าของธุรกิจจะประกันรายได้ขั้นตํ่าให้พนักงาน 100 - 200 บาท/วัน กรณีไม่
มีลูกค้าเลย
- จ้างรายวัน โดยคิดค่าจ้างพนักงานนวดเป็นรายชั่วโมง เช่น ชั่วโมงละ 70 บาท ส่วนเงินพิเศษ
ที่ลูกค้าให้กับพนักงานนวด ถือเป็นสิทธิของพนักงานไป การจ้างเช่นนี้ ทางร้านมักไม่มีเงินเดือนประจำ
ให้
- จ้างรายเดือน เดือนละประมาณ 4,500 - 6,000 บาท หรือตามความเหมาะสม

• การคัดเลือกพนักงานนวด จะต้องคำ นึงถึง
พนักงานนวดควรมีความรู้ ความสามารถในการนวด โดยต้องผ่านการอบรมมา
มีมนุษย์สัมพันธ์ดี สุภาพ พูดจาไพเราะ
รักการให้บริการ

สถานที่ฝึกอบรม
ปัจจุบัน สถาบันหลายแห่งได้สอนการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า การฝึกอบรมจากสถานอบรมจะ
เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 – 4,000 บาทต่อหลักสูตร ระยะเวลา 5 – 10 วัน เช่น
• โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) โทร. 0-2221-2974

• สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โทร. 0-2591-0598-99
• สมาคมแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 0-2965-9194-5
• โรงเรียนแพทย์แผนไทย(สมาคมแพทย์อายุรเวทฯ) จ.นนทบุรี 0-2950-5939
• ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์ฝึกอาชีพ กรุงเทพมหานคร

ลงทุนธุรกิจนวดแผนไทย ตอน 4

การส่งเสริมการขาย / การดึงดูดใจลูกค้า

ผู้ประกอบการควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขายและดึงดูดใจลูกค้า ดังนี้
• ติดต่อบริษัททัวร์ บริษัทท่องเที่ยว หรือไกด์ เพื่อให้แนะนำ นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาใช้
บริการ
• แจกใบปลิวแนะนำ ร้านและการบริการ ตามย่านที่ร้านตั้งอยู่
• รับสมัครสมาชิก โดยไม่เก็บค่าสมาชิกหรือเสียค่าสมาชิกตํ่า พร้อมให้สิทธิประโยชน์แก่
สมาชิก เช่น ส่วนลดแถมการให้บริการ การสะสมแต้มเพื่อแลกสินค้าหรือบริการ
• จัดกิจกรรมประจำ ปี เช่น จัดวันผู้สูงอายุ สำ หรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปสามารถนวดครึ่ง
ราคา เป็นต้น
• จัดกิจกรรมเพื่อนแนะนำ เพื่อน โดยมีของขวัญให้ ทั้งผู้แนะนำ และผู้มาใหม่
• สิ่งสำ คัญที่ดึงดูดใจและสร้างความประทับใจให้ลูกค้า ก็คือการบริการที่ดีเลิศ ตั้งแต่การแต่ง
กายที่สุภาพและสะอาดของพนักงาน การพูดจาไพเราะ การเอาใจใส่ลูกค้าด้วยความจริงใจ
• ลงโฆษณาตามนิตยสารแนวสุขภาพ หรือ ชีวจิต เป็นต้น
• ลงโฆษณาในอินเตอร์เน็ต

สภาพการแข่งขันในตลาด

ปัจจุบัน การนวดแผนไทยประสบกับภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูง ผู้ประกอบการหันมาดำ เนิน
ธุรกิจนี้เพิ่มขึ้น 10-20% ต่อปี นอกจากผู้ประกอบการรายใหม่แล้ว การนวดแผนไทยยังกลายเป็นบริการ
เสริมของธุรกิจที่มีอยู่แล้ว เช่น ตามร้านสถานเสริมสวย เสริมความงาม หรือโรงพยาบาลบางแห่ง
แม้ผู้ประกอบการจะหันมาทำ ธุรกิจนี้กันมาก แต่ส่วนหนึ่งเป็นการเปิดธุรกิจโดยไม่มีการบริหาร
จัดการที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาที่ดีเพียงพอ ผู้ประกอบการที่เปิดธุรกิจนวดแผนไทยจึงต้องปิดตัวเอง
ไปหลายราย และเนื่องจากธุรกิจนี้ จัดเป็นบริการเสริมที่นอกเหนือจากปัจจัยสี่ ดังนั้น การแข่งขันจึงเน้น
ไปที่การบริการที่ดีได้มาตรฐาน และมีจุดเด่นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นด้าน
• การตกแต่งสถานที่ให้ดูสะอาด สวยงาม สบายตา
• สถานที่ตั้ง มีที่จอดรถสะดวก ไปมาง่าย
• มีบริการที่หลากหลายให้ลูกค้าเลือก เช่น นวดตัว นวดฝ่าเท้า นวดนํ้ามันหอมระเหย นวด
ประคบด้วยสมุนไพร
• การต้อนรับของพนักงานที่สุภาพเรียบร้อย
• การนวดได้คุณภาพตามมาตรฐาน
จะเห็นว่า ผู้ประกอบการที่ประสบความสำ เร็จต้องพัฒนาทักษะความรู้ให้แก่บุคคลากรอยู่ตลอด
เวลา รวมถึงพัฒนารูปแบบบริการให้ดีขึ้น

การดำ เนินการ

การดำ เนินการของธุรกิจนวดแผนไทย แบ่งได้ดังนี้
ขั้นตอนการให้บริการลูกค้า
การจัดห้องนวด
อุปกรณ์ที่ใช้
การจัดจ้างพนักงาน
สถานที่ขอรับการอบรมเพิ่มเติม
ขั้นตอนการให้บริการลูกค้า

1. การต้อนรับลูกค้า
ผู้ที่ทำ หน้าที่ต้อนรับลูกค้า ควรเป็นผู้ประกอบการเอง เพราะสิ่งนี้จะสร้างความประทับแก่ลูกค้า
มากกว่า ผู้ประกอบการควรดูว่าลูกค้าต้องการใช้บริการแบบไหน จากนั้น จึงทำ การจัดลำ ดับการให้
บริการแก่ลูกค้า กำ หนดเตียงและพนักงานนวดให้ลูกค้า ถ้าไม่มีเตียงว่าง ผู้ประกอบการก็ควรจัดสถาน
ที่ให้ลูกค้านั่งรอ โดยระหว่างรอ ทางร้านอาจบริการนํ้าชา หรือนํ้าสมุนไพรให้ลูกค้า
กรณีพนักงานนวด ทางร้านอาจจัดลำ ดับการให้บริการสลับหมุนเวียนกัน เพื่อให้โอกาสแก่
พนักงานเท่าเทียมกัน เช่น ถ้าร้านมีพนักงานนวด 3 คน ชื่อ ก ข และ ค
- วันที่ 1 จัดลำ ดับผู้ให้บริการเริ่มต้นดังนี้ พนักงาน ก ข และ ค
- วันที่ 2 จัดลำ ดับผู้ให้บริการเริ่มต้นดังนี้ พนักงาน ข ค และ ก
- วันที่ 3 จัดลำ ดับผู้ให้บริการเริ่มต้นดังนี้ พนักงาน ค ก และ ข
- วันที่ 4 จัดลำ ดับผู้ให้บริการเริ่มต้นดังนี้ พนักงาน ก ข และ ค หมุนเวียนกันไป
2. การเตรียมตัวก่อนให้บริการ
• กรณีนวดตัว โดยปกติ ลูกค้าจะต้องปฏิบัติ ดังนี้
- เปลี่ยนเป็นชุดที่ทางร้านจัดเตรียมไว้ให้ เป็นเสื้อ กางเกงที่หลวมๆ สบายๆ
- ล้างมือ ล้างเท้าให้สะอาด
- ส่วนพนักงานนวดก็ต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและเท้า
• กรณีนวดฝ่าเท้า โดยปกติ ลูกค้าจะต้องปฏิบัติ ดังนี้
- เปลี่ยนเป็นกางเกงที่ร้านจัดเตรียมไว้ให้
- ล้างเท้าให้สะอาด (โดยปกติ พนักงานนวดจะเป็นผู้ทำ ความสะอาดให้)
- ส่วนพนักงานนวดก็ต้องรักษาความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะมือ
3. หลังการให้บริการ
ทางร้านจัดเตรียมให้ลูกค้าเปลี่ยนชุด ระหว่างนั้น ทางร้านอาจมีนํ้าอุ่นหรือนํ้าชาบริการ จากนั้น
ลูกค้าชำ ระค่าบริการ ส่วนเสื้อหรือกางเกงที่ลูกค้าใส่ระหว่างนวดตัวหรือนวดฝ่าเท้า ทางร้านจะต้องนำ ไป
ซักให้สะอาดก่อนนำ มาใช้ใหม่ทุกครั้ง

การจัดห้องนวด
รูปแบบการจัดห้องนวดขึ้นอยู่กับสถานที่และเงินทุน อย่างไรก็ตาม ห้องนวดแบ่งหลักๆ ตาม
ลักษณะการนวดได้ ดังนี้
1. กรณีนวดตัว
เนื่องจากการนวดตัวเป็นบริการที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ไฟในห้องจึงควรปรับความสว่างได้ ถ้า
เป็นสถานที่หรูหรา เช่น โรงแรม ผู้ประกอบการอาจกั้นเป็นห้องถาวร โดยให้บริการห้องละ 1 คน

หรือ 2 – 3 คน ถ้าเป็นกลุ่มครอบครัวหรือเพื่อนสนิท แต่หากเป็นสถานที่ไม่หรูหรามากนัก ผู้
ประกอบการอาจกั้นเป็นห้อง โดยใช้ม่านทึบที่เลื่อนได้
2. กรณีนวดฝ่าเท้า
โดยปกติ การนวดฝ่าเท้าจะมีเตียงนวดฝ่าเท้าโดยเฉพาะ ลูกค้าสามารถนั่งเหยียดขาตามสบาย ผู้
ประกอบการอาจวางเตียงนวดฝ่าเท้าเรียงกัน โดยไม่จำ เป็นต้องกั้นเป็นห้อง แต่กรณีที่ลูกค้าต้องการ
ความเป็นส่วนตัว ทางร้านอาจใช้เตียงนวดตัวแทนเตียงนวดฝ่าเท้า