Friday, April 10, 2009

ทำเว็บคลิกอย่างไรให้ได้เงินเดือนละเป็นหมื่น

เพื่อนๆหลายคนคงสงสัยนะครับ ว่า PTC คืออะไร ได้เงินจริงหรือเปล่า เอาหละ เรามาเข้าเรื่องของ PTC กันเลยดีกว่า เจ้า PTC เนี้ย ชื่อเต็มๆของมันก็คือ \\\"Paid To Click \\\" มันคือ ? หล่ะ มันคือ การลงโฆษณา ของ web แต่ละ web ที่ให้เราเข้าไป กดดุ โฆษณา ของ web เขานั้น แต่ สงสัยหละสิทำไมถึงได้เงิน เพราะ web ที่เราเข้าไปกดเนี้ย จะมีคนมาลงโฆษณา ทาง web ก็ จะได้ส่วนแบ่งจากค่าลงโฆษณาก่อนที่จะแบ่งให้เราเสียอีกครับ เพื่อนเริ่มรู้สึกอยากใช้เงินยามว่างที่ไม่ต้องเหนื่อยอะไรเลยใช่ไหม เรามาเริ่มวิธีการ สมัคร กันเลยดีกว่าครับ ::-7ก่อนอื่นก็ต้องอธิบายกันก่อนเลยว่า PTC ที่ย่อมาจาก Paid To Click เนี่ยคืออะไรหลายๆ คนคงสงสัยว่าทำไมอยู่ดีๆถึงมีคนเอาเงินมาแจกให้เราใช้เล่นใน Internet ? เปล่า เลยครับ ที่จริงแล้วคนที่จ่ายเงินให้เรานั้นจะสร้างรายได้จากเราต่างหาก ด้วยการที่จะมีคนมาลงโฆษณากับเขาแล้วให้เรามานั่งดูและคลิก ซึ่งเขาจะกินส่วนแบ่งจากเงินค่าลงโฆษณาก่อนที่จะแบ่งให้เราเสียอีก ก็คงจะคลายความสงสัยให้กับเพื่อนๆหลายๆคนได้แล้วนะครับว่าทำไมแค่ดูโฆษณา หรือคลิกโฆษณาแล้วได้เงินกัน ต่อไปผมจะเกริ่นนำถึงวิธีการที่จะสร้างรายได้ให้กับเพื่อนๆครับวิธี การที่จะได้เงินมาผมก็ได้พิมพ์บอกไปคร่าวๆในย่อหน้าที่แล้วไปแล้วนะครับ อันที่จริงเพื่อนๆจะได้รับเงินทุกๆครั้งที่คลิกโฆษณา 1 ครั้งใน Account ของตัวเอง แต่ว่าการที่จะได้รับเงินจากทางเว็บแต่ละเว็บนั้นจะต้องมีกำหนดยอดขั้นต่ำ ที่จะจ่ายก่อน เช่นบางเว็บจะกำหนดไว้ 10$USD, 5$USD หรือ 2$USD เป็น ต้น ระยะเวลาในการจ่ายก็อาจจะช้าเร็วต่างกันก็ขึ้นอยู่กับเว็บ บางเว็บก็จ่ายทันที บางเว็บก็อาจจะกินเวลาเกือบสัปดาห์ แต่นานๆครั้งก็มีที่จะนานถึง 4~6 เดือนเลยทีเดียว
แต่ตอนนี้ผมมีวิธีที่จะทำให้เราได้ยอดเงินเร็วแบบสะบาย ๆ โดยมีตัวช่วยโดยเพื่อนที่สนใจสามารถโหลดได้ที่นี้ คลิกเพื่อโหลดโปรแกรม

ความแตกต่างระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ กับ แบล๊คลิสท์

การปรับโครงสร้างหนี้ หมายถึงการที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้ผัดผ่อนและผ่อนผันการผ่อนชำระหนี้ที่มีอยู่หลายวิธี เช่น
1. ให้มีระยะเวลานานขึ้น เช่นจาก 24เดือนเป็น 36เดือน การยืดเวลาออกไปทำให้เงินที่ต้องชำระต่องวดจะถูกลง ทำให้ลูกหนี้สามารถผ่อนชำระต่อได้
2.การตัดหนี้ลงบางส่วน แล้วแต่ตกลงกัน แล้วผ่อนชำระต่อไป
ส่วนแบล็คลิสท์ ในเครดิตบูโร นั้น ขออธิบายคำว่าเครดิตบูโรก่อน หมายถึง การรายงานข้อมูลการชำระเงินหรือหนี้ที่ต้องผ่อนชำระทุกเดือนไปให้กับสำนัก งานกลางเครดิตบูโร เพื่อเวลาสถาบันการเงินต้องการปล่อยกู้ ก็จะเอาข้อมูลการชำระหนี้นั้นมาประกอบการพิจารณาการให้สินเชื่อนั้นๆใน กรณีที่ถูกแบล็คลิสท์ นั้น หมายถึง บุคคลผู้กู้หรือลูกหนี้นั้นไม่ผ่อนชำระตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้หรือผิด นัดชำระเงินนั่นเอง ทำให้เวลาไปขอสินเชื่อใดๆเช่นซื้อบ้าน รถ หรือสมัครบัตรเครดิต ก็จะมีประวัติการผ่อนชำระที่ไม่ตรงตามกำหนดแนบมาด้วย ทำให้การขอสินเชื่อยากยิ่งขึ้น
ปล.โปรดอย่าหลงเชื่อว่ามีบุคคลอื่นใดสามารถลบแบล็คลิสท์ได้

Monday, April 6, 2009

เงินตรา

เงินตรา คือ วัตถุที่ใช้ในการแลกขายซื้อเปลี่ยน เป็นตัวแทนการวัดมูลค่าของสินค้าที่แลกเปลี่ยนกัน ในอดีตเริ่มจากการใช้เปลือกหอย อัญมณี พัฒนามาเป็นโลหะ ปัจจุบัน ใช้เป็น เหรียญ และ ธนบัตร

เหรียญ


เหรียญ เป็น วัตถุชนิดแข็ง ส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะ หรือ พลาสติก และมีลักษณะเป็น แผ่นกลม มีการนำเหรียญ มาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ใช้เป็นเงินตรามีมูลค่าสำหรับแลกเปลี่ยน เรียกว่า เหรียญกษาปณ์ ผลิตแจกจ่ายโดยรัฐบาล เหรียญถูกใช้ในรูปของเงินสดในระบบการเงินสมัยใหม่เช่นเดียวกับธนบัตร แต่ใช้ในหน่วยที่มีมูลค่าต่ำกว่า ขณะที่ธนบัตรจะถูกใช้ในหน่วยที่มีมูลค่าสูงกว่า โดยปกติ ค่าสูงสุดของเหรียญจะต่ำกว่าค่าต่ำสุดของธนบัตร มูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนของเหรียญมาจากมูลค่าทางด้านประวัติของมัน และ/หรือ มูลค่าที่แท้จริงของโลหะที่เป็นส่วนประกอบ (ตัวอย่างเช่น เหรียญทอง, เหรียญเงิน หรือเหรียญแพลตินัม)

เหรียญ นำมาใช้ในรูปของ ของรางวัล หรือ ของที่ระลึกได้ ก็จะเรียก เหรียญรางวัล และ เหรียญที่ระลึก

ธนบัตร


ธนบัตร (banknote) เป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยน ซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรจะใช้ควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์ แต่โดยทั่วไปแล้วธนบัตรมักใช้สำหรับเงินจำนวนมาก ส่วนเหรียญกษาปณ์ใช้กับเงินจำนวนน้อย หรือเศษสตางค์

ในสมัยก่อน ค่าของเงินจะวัดโดยวัตถุที่นำมาใช้เป็นเงิน เช่น เบี้ย, เงิน หรือ ทอง แต่การถือวัตถุมีค่าเหล่านี้ออกไปจำนวนมากย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สะดวกและเป็น อันตราย จึงใช้ธนบัตรเพื่อเป็นสื่อแลกเปลี่ยนแทน ธนบัตรเป็นเหมือนสัญญาว่าจะให้เงินไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งภายหลังสามารถนำไปแลกคืนเป็นเงินหรือทองได้ ภายหลังจึงเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อสิ่งของและบริการ ไม่ต้องแลกเป็นเงินหรือทองอีก

ดอกเบี้ย
ดอกเบี้ย คือเงินที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการลงทุนโดยการคำนวณเป็นอัตราร้อยละต่อปี ในทางเศรษฐศาสตร์ ดอกเบี้ยเป็นเครื่องควบคุมอัตราเงินเฟ้ออีก ด้วย คือ เมื่อใดที่เกิดอัตราเงินเฟ้อขึ้น แสดงว่า มีปริมาณเงินในตลาด(หมายถึงเงินในมือประชาชน)จำนวนมาก และสินค้าจะราคาแพงขึ้น การขึ้นดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ ทำให้เงินได้ออกจากตลาดไป ปริมาณเงินจะลดลง เงินเฟ้อก็จะลดลง

สูตรการคำนวณดอกเบี้ย

A = P+ P\cdot\left(\frac{r}{100}\right)\cdot n

เมื่อ A คือเงินรวมที่ได้รับ P คือเงินต้น r คืออัตราดอกเบี้ยต่อช่วงเวลา และ n คือจำนวนของระยะช่วงเวลา

การเงินส่วนบุคคล

การบริหารการเงินส่วนบุคคล คือ การจัดการการเงินขนาดย่อยของตัวเองโดยมีการฝึกฝนทั้งความรู้ในเรื่องการออม และนำเงินออมที่เก็บไปทำให้เกิดประโยชน์ โดยที่แต่ละคนจะมีเป้าหมายทางการเงินที่แต่ต่างกัน แต่เป้าหมายขั้นพื้นฐานของการบริหารการเงินส่วนบุคคลคือ "อิสรภาพทางการเงิน"

อิสรภาพทางการเงิน

อิสรภาพ ทางการเงิน คือ การที่คุณมีชีวิตอยู่ได้โดยที่ไม่ต้องทำงานหรือทำงานที่คุณรัก โดยที่คุณไม่ต้องคำนึกถึงรายได้หรือรายจ่ายที่คุณต้องไปหางานเพื่อให้ได้ เงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

ทำอย่างไรถึงจะได้ไปถึงอิสรภาพทางการเงิน

1. เก็บออมเงิน คือ การนำเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวันไปเก็บเพื่อไปใช้ในอนาคต อาทิ การใช้จ่ายยามฉุกเฉิน การลงทุน

  • จ่าย ให้ตัวเองก่อน คือการนำรายได้ของตัวเองหักออกมาเก็บโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับเงินที่เก็บไว้ จนกว่าจะสามารถนำเงินที่เก็บได้นำไปทำให้เกิดผลตอบแทนที่ต้องการ วิธีการกำหนดว่าคุณจะหักจากรายได้เป็นร้อยละเท่าไรขึ้นอยู่กับตัวของคุณ โดยทั่วไปจะตั้งไว้ที่ 10% เป็นขั้นต่ำ ซึ่งคุณอาจจะเพิ่มเป็น 15%, 20% หรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับความต้องการบอกแต่ละบุคคล
  • จ่ายเพิ่มให้ กับตัวเอง ทุกครั้งที่คุณมีรายจ่ายในการซื้อของให้จ่ายกับตัวเองเพิ่ม วิธีนี้จะทำเหมือนกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่คุณต้องจ่ายให้กับรัฐบาล แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มนี้คุณจะจ่ายให้ตัวเองแทน โดยจะกำหนดเป็นร้อยละเท่าไรขึ้นอยู่กับตัวของคุณ อาจจะเริ่มที่ 3% เป็นการเริ่มต้น
  • การหักจากรายจ่าย คือ ในแต่ละวันที่คุณมีรายจ่าย คุณก็ต้องหักเงินจากรายจ่ายในการใช้จ่ายของคุณในแต่ละวัน คุณอาจหักรายจ่ายจากรายได้ร้อยละเท่าไรขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง

2. นำเงินออมไปให้งอกเงย

  • ฝากธนาคาร
  • ลงทุน
  • ทำประกันชีวิต
    • ทำธุรกิจ
    • หุ้น
    • ตราสาร
    • อสังหาริมทรัพย์

ประวัติธนบัตรประเทศไทย

ประเทศไทยนำธนบัตรออกใช้เป็นครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2445 ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยามรัตนโกสินทร ศก 121 โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (กระทรวงการคลัง ในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล การสั่งพิมพ์และนำออกใช้ธนบัตรภายในประเทศ จนกระทั่ง มีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อพ.ศ. 2485 กิจการทั้งปวงและอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับธนบัตร จึงถูกโอนมาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2512 ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเป็นผลสำเร็จ จึงได้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองภายในประเทศ ได้แก่ ธนบัตรแบบ 11 รวมทั้งแบบอื่น ๆ เป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน

ก่อนที่จะมีการนำธนบัตร เข้ามาใช้ร่วมกับเงินตราชนิดอื่น ๆ ในระบบการเงินของประเทศ ชนชาติไทยได้ใช้หอยเบี้ย ประกับ (ดินเผาที่มีตราประทับ) เงินพดด้วง ปี้กระเบื้อง และเหรียญกษาปณ์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน จนกระทั่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติและเปิดเสรีทางการค้า ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น จนไม่สามารถผลิตเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราหลักในขณะนั้นได้ทันต่อความต้อง การ ทั้งยังมีผู้ทำเงินพดด้วงปลอมออกใช้ปะปนในท้องตลาด จนเป็นปัญหาเดือดร้อนกันทั่วไป ในพ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดแรกขึ้น ใช้ในระบบเงินตราของประเทศ เรียกว่า หมาย

ต่อ มาระหว่างพ.ศ. 2415 - 2416 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดปัญหาเหรียญกษาปณ์ชนิดราคาต่ำซึ่งเป็นเงินปลีกที่ทำจากดีบุกและทองแดง ขาดแคลน ประกอบกับมีการนำ ปี้ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนเงินในบ่อนการพนันมาใช้แทนเงินตรา ในพ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดราคาต่ำเรียกว่า อัฐกระดาษ ให้ราษฎรได้ใช้จ่ายแทนเงินเหรียญที่ขาดแคลน แต่อัฐกระดาษก็ไม่เป็นที่นิยมใช้เช่นเดียวกับหมาย

เงินกระดาษชนิดต่อมา คือ บัตรธนาคาร ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามธนาคารที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย ได้แก่ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน และธนาคารแห่งอินโดจีน ได้ขออนุญาตนำบัตรธนาคารออกใช้ เมื่อพ.ศ. 2432, 2441, และ 2442 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นรัฐบาลประสบปัญหาไม่สามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ได้ทัน ต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ

บัตรธนาคาร มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดหนึ่งที่ใช้อำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ ระหว่างธนาคารกับลูกค้า ดังนั้น การหมุนเวียนของบัตรธนาคารจึงจำกัดอยู่ในวงแคบเฉพาะบุคคลที่มีความจำเป็น ต้องติดต่อธุรกิจกับธนาคารดังกล่าวเท่านั้น อย่างไรก็ดี บัตรธนาคารมีส่วนช่วยให้ประชาชนรู้จักคุ้นเคยกับเงินที่เป็นกระดาษมากขึ้น และเนื่องจากมีระยะเวลาการนำออกใช้นานกว่า 13 ปี (พ.ศ. 2432 - 2445) ทำให้การเรียกบัตรธนาคารทับศัพท์ว่า แบงก์โน้ต หรือ แบงก์ ในขณะนั้น สร้างความเคยชินให้คนไทยเรียกธนบัตรของรัฐบาลที่ออกใช้ในภายหลังว่า แบงก์ จนติดปากมาถึงทุกวันนี้

ขณะเดียวกันรัฐบาลในสมัยนั้นได้พิจารณาเห็น ว่าบัตรธนาคารที่สาขาธนาคาร พาณิชย์ต่างประเทศออกใช้อยู่ในขณะนั้น มีลักษณะคล้ายกับเงินตราที่รัฐบาลควรจัดทำเสียเอง ในพ.ศ. 2433 จึงได้เตรียมการออกตั๋วเงินของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรียกว่า เงินกระดาษหลวง โดยสั่งพิมพ์จากห้างกีเชคเก้ แอนด์ เดวรีเอ้นท์ (en:Giesecke & Devrient) ประเทศเยอรมนี จำนวน 8 ชนิดราคา เงินกระดาษหลวงได้ส่งมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ. 2435 แต่เนื่องจากความไม่พร้อมของทางการในการบริหาร จึงมิได้นำเงินกระดาษหลวงออกใช้

จนกระทั่งพ.ศ. 2445 จึงเข้าสู่วาระสำคัญในการออกธนบัตร กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้ตรา พระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก 121 ขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2445 อีกทั้งโปรดให้จัดตั้ง กรมธนบัตร ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพื่อทำหน้าที่ออกธนบัตรและรับจ่ายเงินขึ้นธนบัตร และเปิดให้ประชาชนนำเงินตราโลหะมาแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตรตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2445 จึงนับว่าธนบัตรได้เข้ามามีบทบาทในระบบการเงินของไทยอย่างจริงจังนับแต่นั้น มา

ธนบัตรที่นำออกใช้ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก 121 นั้น มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของรัฐบาลที่สัญญาจะจ่ายเงินตราให้แก่ผู้นำ ธนบัตรมายื่นโดยทันที ต่อมา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2471 ซึ่งกำหนดให้เงินตราของประเทศประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ ตลอดจนให้ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการเปลี่ยนลักษณะของธนบัตรจากตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นเงินตราอย่าง สมบูรณ์

Saturday, April 4, 2009

เช็คช่วยชาติ

เช็คช่วยชาติ ผ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก
โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน และบุคลากรภาครัฐ (2000 บาท)

-:- ผู้มีสิทธิ์รับเงิน
-:- ขั้นตอนการขอรับเงิน
-:- เอกสารในการยื่นเรื่อง
-:- กำหนดการเบิกจ่ายเช็ค
-:- วิธรการและขั้นตอนการรับเช็คของผู้รับบำนาญ

-:- วิธีการและขั้นตอนการรับเช็คของผู้ประกันตน
-:- รูปแบบและการตรวจสอบเช็ค
-:- การใช้เช็คช่วยชาติ
-:- การเข้าร่วมโครงการของ
ผู้ประกอบการ และร้านค้าทั่วไป

ผู้มีสิทธิ์รับเงิน

ผู้มีสิทธิได้แก่ผู้มีสัญชาติไทย ที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาท มีรายละเอียดดังนี้

  1. ประชาชนในระบบประกันสังคมจำนวน 8,138,815 คน
    • ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องมีสถานะเป็นผู้ประกันตนอยู่ ณ วันที่ 13 มกราคม 2552 และยังไม่สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน
    • ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ผู้ที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นผู้ประกันตนภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 (หน้าจอ Online แสดงผลวันที่เข้างาน ไม่เกินวันที่ 1 มกราคม 2552 ) และยังไม่สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน ณ วันที่ 13 มกราคม 255
      การสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ไม่ว่าจะมาสมัครวันที่เท่าไร ก็จะมีผลการอนุมัติในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป
    • ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผู้ที่ได้รับการอนุมัติให้เป็น ผปต.และจ่ายเงินสมทบแล้ว (ตรวจสอบฐานข้อมูล ผปต.ณ วันที่ 13 มกราคม 2552
      ไม่ว่าจะมาสมัครวันที่เท่าไร ก็จะมีผลการอนุมัติในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป
      ส่วนเงินสมทบ จะคิดคำนวณเงินสมทบตั้งแต่เดือนที่เป็นผู้ประกันตนจนถึงวันสิ้น
    • ผู้ประกันตนตามมาตรา 38(2) คือลูกจ้างที่พ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้วสำนักงานประกันสังคมจะคุ้มครองสิทธิ์ลูกจ้างต่ออีก 6 เดือน มาตรา 38 ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั่น ตาย และ สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติให้บุคคลตามมาตรา 38 ที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออกจากงาน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 มีสิทธิได้รับ “เช็คช่วยชาติ” ด้วยเช่นกัน

      หมายเหตุ
      - ในกรณีที่ประชาชนแจ้งว่าได้ออกจากงานก่อนวันที่ 13 มกราคมและยังอยู่ระหว่างได้รับการคุ้มครอง 6 เดือนตามมาตรา 38 ได้ไปลงทะเบียนและทางเจ้าหน้าที่ไม่รับลงทะเบียนไปก่อนหน้านี้ ให้แจ้งประชาชนว่าให้ไปติดต่อประกันสังคมโดยตรงเพื่อขอลงทะเบียนใหม่อีก ครั้ง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อาจจะยังไม่ได้รับการประสานข้อมูลจากทางกระทรวงแรงงาน (ข้อมูลจากเลขาธิการ สปส.ผ่านรายการเรื่องเล่าเช้านี้ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552
  2. บุคคลากรภาครัฐ จำนวน 1,324,973 คนประกอบด้วย
    • ข้าราชการพลเรือน
    • ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
    • ข้าราชการตำรวจ
    • ลูกจ้างประจำ
    • ลูกจ้างชั่วคราว
    • ข้าราชการทหาร รวมทั้งทหารเกณฑ์ (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
    • ข้าราชการบำนาญ
    • เจ้า หน้าที่ของรัฐคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ อาสาสมัครทหารพราน สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน
    • พนักงานรัฐวิสาหกิจ (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
    • บุคลากรของหน่วยงานรูปแบบพิเศษ (องค์กรมหาชน) (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
    • บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
    • บุคลากรขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
  3. กลุ่มครู บุคลากรด้านการศึกษา และบุคลากรอื่นในโรงเรียนเอกชน 132,604 คน (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52) ได้แก่
    • ครูโรงเรียนเอกชนที่อยู่ในระบบกองทุนสงเคราะห์ที่มีสิทธิรับเงิน
    • ครูที่อยู่นอกระบบกองทุนสงเคราะห์ที่ต้องตรวจสอบสาเหตุที่อบู่นอกระบบกองทุนสงเคราะห์
    • กลุ่ม บุคลากรอื่นในโรงเรียนเอกชน เช่น พนักงานขับรถยนต์ นักการภารโรง พี่เลี้ยงเด็ก ที่ต้องตรวจสอบว่าบางส่วนอาจจะควรอยู่ในระบบประกันสังคม แต่โรงเรียนไม่จัดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
  4. กรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเพิ่มเติมให้บุคคลใดเป็นผู้มีสิทธิรับเงิน กำหนดให้หน่วยงานที่บุคคล ดังกล่าวอยู่ในสังกัดดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินด้วย

ขั้นตอนการขอรับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ

กรณีผู้ประกันตนที่ทำงานกับนายจ้าง (มาตรา 33 )

  1. กรอกแบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐในส่วนของผู้ประกันตน(สปส.รบ.2000) โดย ผู้ประกันตนต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีธนาคารของผู้ประกันตนเท่านั้น
  2. ให้ยื่นแบบคำขอฯผ่านนายจ้าง เพื่อให้นายจ้างรวบรวมแบบคำขอฯ
  3. โดยนายจ้างต้องกรอกใบนำส่งแบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐฯโดยนายจ้างผู้ประกอบการ(สปส.รบ.2000/1) นำไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
  4. กรณีที่ผู้ประกันตนเกิน 100 คน นายจ้างสามารถทยอยส่งได้ โดยขอความร่วมมือนายจ้างจัดส่งภายในวันที่ 16 มีนาคม 2552

กรณีผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) และผู้ประกันตนที่ประกันตนเอง (มาตรา 40)

  • บุคคล ซึ่งออกจากงานแล้วแต่ยังส่งเงินประกันสังคมอยู่ตามมาตรา 39,40 ให้ยื่นเรื่องด้วยตนเองต่อประกันสังคม เขตพื้นที่หรือจังหวัดที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนโดยตรง
  • บุคคล ที่ออกจากงานแล้วและไม่ได้ส่งเงินประกันสังคมต่อตามมาตรา 39 หรือ 40 แต่ยังอยู่ในระหว่าง 6 เดือนที่ได้รับการคุ้มครองก็สามารถขอขึ้นทะเบียนได้โดยตรงที่สำนักงานประกัน สังคมยื่นแบบคำขอฯ ด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมที่ขึ้นทะเบียน
  • หาก ย้ายสถานที่จ่ายเงินสมทบไปยังสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา อื่นให้ยื่นแบบคำขอฯที่สำนักงานประกันสังคมที่จ่ายเงินสมทบ (สำนักงานประกันสังคมที่รับผิดชอบปัจจุบัน) ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2552

กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 38(2)

คือ ลูกจ้างที่พ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้วสำนักงานประกันสังคมจะคุ้มครองสิทธิ์ลูกจ้างต่ออีก 6 เดือน
มาตรา 38 ความเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น (1) ตาย (2) สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

  • เมื่อ วันที่ 3 มีนาคม 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติให้บุคคลตามมาตรา 38 ที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออกจากงาน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 มีสิทธิได้รับ “เช็คช่วยชาติ” ด้วยเช่นกัน
  • แนะนำให้ยื่นเรื่องที่ สปส. เขต/จังหวัดที่รับผิดชอบนายจ้างรายล่าสุด

กรณีไม่สะดวกยื่นเรื่องด้วยตนเอง

  1. ผู้ประกันตน กรอกแบบ สปส.รบ.2000 และลงชื่อให้ครบถ้วน พร้อมทั้งแนบเอกสาร โดยฝากใครมายื่นเรื่องแทนก็ได้ โดยไม่ต้องมอบอำนาจ
  2. ขอ ให้ผู้มาส่งเอกสารรับใบรับเรื่องฯ จากเจ้าหน้าที่ (ส่วนท้ายของแบบฟอร์ม) ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการสูญหาย หรือ สามารถส่งเอกสารทางไปรษณีย์ได้ แต่ ผู้ประกันตน จะไม่ได้รับใบรับเรื่องฯ (ส่วนท้ายขอบแบบฟอร์ม) ในทันที
  3. เพื่อป้องกันการสูญหาย ควรจัดส่งไปรษณีย์ แบบลงทะเบียนตอบรับ เป็นการยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารเรียบร้อยแล้ว

กรณีบุคลากรทางภาครัฐ

  • ไม่ต้องดำเนินการกรอกแบบฟอร์ม จากเดิมที่แจ้งว่าจะโอนเข้าบัญชี ตอนนี้ทางเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมแจ้งว่าจะจ่ายเป็นเช็คอย่างเดียวเท่านั้น (Update 13 มี.ค.52 )

ผู้ประกันตนและผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท ควรไปขึ้นทะเบียนกรอกแบบฟอร์ม
ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2552 หากยื่นหลังจากนี้จะได้รับเช็คช้า

กรณีครูเอกชน

ขณะนี้ สช. ได้มีหนังสือด่วนที่สุด พร้อมแนบแนวปฏิบัติการช่วยเหลือค่าครองชีพและแบบสำรวจรายชื่อ ไปยังผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพฯ และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเรียบร้อยแล้ว

  • โดยขอให้โรงเรียนตรวจสอบผู้มีสิทธิ์รับเงินช่วยเหลือ และลงรายการในแบบสำรวจ
  • จัดทำข้อมูลในรูปไฟล์ Excel พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบ
  • จัดส่งมายังกลุ่มงานทะเบียน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ถ.ราชดำเนินนอก เขตดุสิต กทม. 10300 ภายในวันที่ 25 มีนาคม 2552
  • หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาได้ที่ โทร 02281 6400, 0 2628 9024, 0 22826854, 0 2282 8655 และ 0 2282 1749

เอกสารประกอบในการยื่นเรื่อง

  1. แบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐในส่วนของผู้ประกันตน(สปส.รบ.2000) กรอกรายละเอียดให้เรียบร้อย
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ได้แก่
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธ
    • นาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หมายเหตุ

  • สำหรับ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) และผู้ประกันตนที่ประกันตนเอง (มาตรา 40) สำนักงานประกันสังคมได้จัดส่งแบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ ประชาชนและบุคลากรภาครัฐในส่วนของผู้ประกันตน (สปส.รบ.2000) ให้กับผู้ประกันตนโดยตรง
  • หากไม่ได้รับสามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.sso.go.th เลือก e–Service และเลือก ดาวน์โหลด แบบฟอร์มคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ ในส่วนของผู้ประกันตน (สปส.รบ.2000)

กำหนดการจ่ายเงิน

  • กำหนดวิธีการเบิกจ่ายเงิน โดยให้ 3 หน่วยงาน เป็นผู้เบิกเงินจากคลัง และส่งมอบเช็คให้กับ ผู้มีสิทธิรับเงิน ได้แก่
    1. สำนักงานประกันสังคม
    2. ส่วนราชการที่เป็นต้นสังกัดของผู้มีสิทธิรับเงิน
    3. กรมบัญชีกลาง (สำหรับกรณีผู้มีสิทธิรับเงินที่เป็นผู้รับเบี้ยหวัดหรือผู้รับบำนาญ
  • เช็คช่วยชาติ มูลค่า 2,000 บาทจะเริ่มมอบเช็คระหว่างวันที่ 26 มีนาคม 2552 ถึง 8 เมษายน 2552 สำหรับผู้ประกันตนที่ยื่นแบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ ประชาชนและบุคลากรภาครัฐในส่วนของผู้ประกันตน (สปส.รบ.2000) เข้ามาภายในวันที่ 6 มีนาคม 2552
  • ในส่วนของผู้ที่ยื่นแบบไม่ทัน หรือมีความจำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2552
  • ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินไม่มารับ “เช็คช่วยชาติ” หรือไม่พบตัวผู้มีสิทธิรับเงิน
    - ให้หน่วยงานซึ่งเป็นผู้ส่งมอบเช็คให้กับผู้มีสิทธิรับเงิน รีบดำเนินการมีหนังสือติดตามแจ้งให้ผู้มีสิทธิรับเงินมารับ “เช็คช่วยชาติ” ให้เสร็จสิ้นโดยเร็วภายในกำหนดระยะเวลา 90 วัน (มิถุนายน 2552)
    - เมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว หากยังไม่มีผู้มารับเช็ค ให้หน่วยงานนำเช็คไปขึ้นเงินกับธนาคาร และนำเงินส่งคืนคลังตามระเบียบของทางราชการ

วิธีการและขั้นตอนการรับเช็คช่วยชาติ (2,000 บาท)ของผู้รับบำนาญ

การตรวจสอบสิทธิ

  • ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญสามารถตรวจสอบรายชื่อและสถานที่รับเช็ค ได้ที่
  • เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง http://www.cgd.go.th/ หัวข้อ เช็คช่วยชาติผู้รับบำนาญ
  • หรือสอบถามโดยตรงได้ที่ กรมบัญชีกลาง Call Center หมายเลข 02-270-6400 หรือ 02-273-9024 02-271-0686-90 และ 02-273-9101

หลักฐานเพื่อนำไปรับเช็คสำหรับผู้รับบำนาญ

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรผู้รับบำนาญ
  • กรณี ไม่สามารถไปรับด้วยตนเอง ก็สามารถให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมารับแทนได้ โดยทำใบมอบฉันทะพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบฉันทะและผู้รับมอบฉันทะ
  • กรณี ที่ชื่อปรากฎอยู่ทางส่วนกลางหรือสำนักงานคลังจำนวนใด ๆ แต่ไม่สะดวกที่จะไปรับ ก็ให้ไปยื่น คำร้อง ณ หน่วยงานที่สะดวกจะไปติดต่อ พร้อมระบุเลขที่บัญชีธนาคารที่ประสงค์ จะให้โอนเงินเข้าบัญชีให้ (กรณีนี้ต้องใช้เวลา เพราะต้องรวบรวมคำร้องส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการนำเช็คไปขึ้นเงินก่อน และโอนเงินเข้าบัญชีผู้มีสิทธิต่อไป)

กำหนดการและสถานที่รับเช็ค

  • ผู้รับบำนาญทางส่วนกลาง รับเช็คได้ที่กรมบัญชีกลาง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป
  • ผู้รับบำนาญทางส่วนภูมิภาค รับได้ที่สำนักงานคลังจังหวัด 26 มีนาคม เป็นต้นไป

วิธีการจ่ายเช็คช่วยชาติแก่ผู้ประกันตน

ตรวจสอบบัญชีรายชื่อ

  • ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ไปตรวจสอบบัญชีรายชื่อ วัน เวลา ที่จะได้รับเช็ค ณ สถานประกอบการ
  • ผู้ ประกันตนตามมาตรา 39 ไปตรวจสอบบัญชีรายชื่อ วัน เวลา ที่จะได้รับเช็ค ณ ที่ว่าการอำเภอ (เริ่มติดประกาศตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2552

วิธีการจ่ายเช็คแก่ผู้ประกันตน ที่มีสิทธิรับเงินตามโครงการฯ 3 วิธี คือ

  1. มอบให้ผู้ประกันตน ณ สถานประกอบการของนายจ้าง
  2. มอบ ณ จุดนัดพบในอำเภอต่างๆ สำหรับผู้ประกันตนซึ่งอยู่ห่างไกลและ
  3. มอบ ณ ที่ตั้งของสำนักงานประกันสังคม หรือสถานที่ที่มีความสะดวก เช่น สนามกีฬา วัด โรงเรียน หรือ ห้างสรรพสินค้า

สำหรับผู้ประกันตนในเขตเมือง สำนักงานประกันสังคมจะประชาสัมพันธ์แจ้งผ่านนายจ้างโดยตรง หรือ ผ่านสื่อต่างๆ ด้วย

ขั้นตอนและรายละเอียดเพิ่มเติมต่าง ๆ

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33

  • ทางสนง.ประกันสังคมเขตพื้นที่ จะส่งเอกสารไปยังบริษัท แจ้งวันและสถานที่รับเช็คช่วยชาติ
  • หากไม่สามารถไปรับเช็คได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปรับเช็คแทนได้
    โดยการมอบอำนาจในการรับเช็ค เริ่มวันที่ 5 เมษายน เป็นต้นไป โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
    • กรณี ผู้ประกันตนที่มีสิทธิอยู่ในชนบทห่างไกล
      - สามารถมอบอำนาจให้เครือญาติมารับแทน โดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเจ้าหน้าที่เทศบาล เป็นพยานอย่างน้อย 1 คน ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นบุคคลใดก็ได้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
    • กรณีผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้างที่อยู่ในสายการผลิต ไม่สามารถหยุดได้หากหยุดการผลิตจะเกิดความเสียหาย
      - ให้ลูกจ้างคนหนึ่งคนใดเป็นผู้รับมอบอำนาจ พยานคือ ลูกจ้างคนอื่นที่เหลืออยู่ โดยประทับตราของบริษัทในหนังสือมอบอำนาจทุกฉบับ และนำบัตรประชาชนฉบับจริงพร้อมสำเนาที่มีการรับรองสำเนาถูกต้องของผู้มอบ อำนาจทุกคน ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่
      - ทั้งนี้ นายจ้างจะต้องมีหนังสือรับรองระบุชื่อผู้ประกันตนที่มอบอำนาจทุกคน และยืนยันว่าจะกำกับดูแล ควบคุมให้ผู้รับมอบอำนาจนำเช็คช่วยชาติ ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ไปให้ผู้ประกันตนผู้มอบอำนาจอย่างครบถ้วน
    • กรณีผู้ประกันตนเป็นลูกจ้างทำงานในสาขาต่างจังหวัด โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ
      - ไม่สะดวกในการเดินทางมารับ เช็คช่วยชาติ ที่กรุงเทพฯ สามารถมอบอำนาจให้ผู้แทนนายจ้าง มารับ “เช็คช่วยชาติ” แทนลูกจ้างผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้ พยานคือลูกจ้างที่เหลืออยู่ โดยประทับตราของบริษัทในหนังสือมอบอำนาจทุกฉบับ และมีหนังสือรับรองยืนยันว่า ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้แทนนายจ้าง ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันตนที่มีสิทธิชื่อใดบ้าง
      - รวมทั้ง ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวบัตรประชาชนที่มี การรับรองสำเนาถูกต้องของผู้มอบอำนาจทุกคนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ (Update 03/04/52 ที่มา: ข่าวประจำวันสำนักงานประกันสังคม)
  • กรณี ไม่สามารถเดินทางไปรับในวันที่ระบุในเอกสารได้
    เช็คดังกล่าวจะถูกส่งกลับไปที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ ให้ไปติดต่อขอรับเช็คได้ภายใน 90 วัน
  • กรณี ที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ซึ่งมีพนักงานตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไป
    สามารถติดต่อ สนง.ประกันสังคมในเขตพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาตั้งจุดบริการที่บริษัทได้
  • กรณี สถานประกอบการไม่สามารถรับเช็ค ตามวัน เวลา ที่ สปส.เขต / จังหวัด กำหนด
    สปส.จะจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ในการจ่ายเช็คให้กับสถานประกอบการที่มีจำนวนลูกจ้างที่มีสิทธิรับเช็คตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป
  • กรณี ที่ไม่สามารถไปรับเช็คในวันเวลา และสถานที่ที่กำหนด
    • ขอให้นายจ้างมีหนังสือร้องขอมาที่ สปส.ทางโทรสาร (Fax) หมายเลข 0-2526-1959 หรือ 0-2968-7562
    • และโทรศัพท์ไปสอบถามได้ในกรณีที่ส่ง Fax ไปยัง สปส.เรียบร้อยแล้วคือหมายเลข 0-2956-2024-5 หรือ 0-2956-2012-1
    • โดยกำหนดรายละเอียดในหนังสือฯ ดังนี้
      1. ระบุรายละเอียดของสถานประกอบการ ได้แก่ ชื่อสถานประกอบการ เลขที่บัญชีนายจ้าง สปส.ที่รับผิดชอบ ชื่อผู้ประสานงานของบริษัทฯ และหมายเลขโทรศัพท์
      2. จำนวนผู้มีสิทธิรับเช็คช่วยชาติ
      3. วัน เวลา และสถานที่ที่ สปส.เขต ระบุในการรับเช็ค
      4. ระบุเหตุผลที่ไม่สามารถรับเช็ค........................... (ที่มา: Fax สปส.)

ผู้ประกันตนมาตรา 40, 38(2)

  • ทางสนง.ประกันสังคม ยังอยู่ระหว่างหาข้อสรุปว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ประชาชนสะดวกที่สุด
  • โดยหากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ สนง.ประกันสังคมในเขตพื้นที่

ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ตามมาตรา 39)

  • ในเขต กทม.
    - สปส.จะนำ “เช็คช่วยชาติ” ไปมอบให้ ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 26-28 มี.ค. เวลา 08.00-16.00 น. (จะเริ่มแจกบัตรคิวเวลา 07.00 น.)
    - หากไม่ทันให้ติดต่อขอรับเช็คได้ที่ สปส.เขตพื้นที่ ได้ตั้งแต่วันที่ 4-8 เม.ย. และ 20 เม.ย.-15 มิ.ย.
  • ส่วนในต่างจังหวัด
    - ให้ติดต่อขอรับเช็คได้ตั้งแต่ วันที่ 26 มี.ค.-8 เม.ย. 52
    - หากไม่ทันให้ติดต่ออีกครั้งในระหว่างวันที่ 20 เม.ย.-15 มิ.ย.
  • ตรวจสอบรายชื่อได้ที่สายด่วนประกันสังคม โทร.1506 ตั้งแต่เวลา 07.00-19.00 น. หรือ http://www.sso.go.th

รูปแบบและการตรวจสอบเช็คช่วยชาติของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ข้อพึงระวัง

เช็คช่วยชาติสามารถเปลี่ยนมือได้และมีค่าเสมือนเงินสด
จึงไม่สามารถอายัดได้
ผู้ได้รับเช็คจึงต้องเก็บรักษาเป็นอย่างดี

ภาพจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดเต็ม

วิธีสังเกต 4 จุดหลัก

  1. ตัว อักษร "เช็คช่วยชาติ ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก" พิมพ์เป็นลายเส้นนูน สีน้ำเงิน ดำ และแดง เหลือบกัน เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือจะรู้สึกสะดุดกับหมึกพิมพ์ที่อยู่บนผิวกระดาษ
  2. สัญลักษณ์ "฿" ช่องจำนวนเงิน พิมพ์เป็นตัวนูน สีทองและแดงเหลือบกัน
  3. เมื่อนำเช็คไปส่องกับแบล็คไลท์ จะปรากฏตราสัญลักษณ์รูปดอกบัวของธนาคารกรุงเทพตรงกลางเช็ค
  4. ขอบเช็คต้องมีรอยปรุ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านบนและด้านล่าง

สอบถามเพิ่มเติม ศูนย์ธนาคารทางโทรศัพท์ ‘โครงการเช็คช่วยชาติ’ โทร.0 2645 5888 ทุกวัน ระหว่างเวลา 8.00 น. – 20.00 น.

การใช้เช็คช่วยชาติ

  1. เช็คช่วยชาติ มีมูลค่า 2,000 บาท จะมีอายุการใช้งาน 180 วันนับจากวันที่ที่ระบุบนเช็ค
  2. เช็คช่วยชาติที่ออกโดย ธ.กรุงเทพ สามารถนำไปเบิกเงินสดที่ธนาคารกรุงเทพฯ ได้ทุกสาขา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  3. ผู้ ถือเช็คจะต้องสลักชื่อตัวเอง 2 ครั้งด้านหลังเช็ค พร้อมเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน ในการแลกซื้อสินค้าซึ่งขณะนี้ได้ร่วมกับภาคเอกชนจำนวน 21 ราย (ตามข่าวประจำวันที่ 18 มีนาคม 2552)
    3.1 บริษัทเซ็นทรัลคอปอร์เรชั่น จำกัด ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โรบินสัน ร้านท๊อปซูเปอร์มาร์เก็ต และซูเปอร์สปอร์ต รวมกว่า 400 สาขา
    3.2 บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป
    3.3 ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ได้แก่
    - นานมีบุ๊คส์
    - บริษัทไทยสกายลาร์ค
    - กิฟฟารีน
    - Big C (บิ๊กซี)
    - Pizza (พิซซ่าฮัท)
    - KFC (เคเอฟซี)
    - CP (ซีพีเฟรชมาร์ท)
    - McDonald's (แมคโดนัล)
    - Carrefour (คาร์ฟูร์)
    - Lotus (โลตัส)
    - บริษัทอินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์
    - เมืองไทยประกันภัย
    - สมาคมโรงพยาบาลเอกชน
    - และ องค์การค้าของคุรุสภา เป็นต้น
  4. หากจะนำเข้าบัญชีของตัวเองก็สามารถทำได้เลย และต้องมีบัตรประชาชนไปแสดงด้วย เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ
  5. ส่วน ผู้ประกอบการร้านค้าที่รับเช็คไป จะนำเช็คไปเข้าบัญชีของตัวเองต่อไป หรือหากจะนำไปซื้อสินค้าต่อก็สามารถนำไปใช้ได้เช่นกัน แต่จะต้องมีการสลักชื่อและเลขบัตรประจำตัวประชนของตัวเองเช่นกัน

การเข้าร่วมโครงการของผู้ประกอบการ และร้านค้าทั่วไป

สอบถามเพิ่มเติม

สอบถามข้อมูลทั่วไป

ข้าราชการทั่วไป หากมีข้อสงสัยติดต่อ ต้นสังกัด

ส่วนข้าราชการบำนาญ ให้ติดต่อที่กรมบัญชีกลาง

มีข้อสงสัยต้องการตรวจสอบคำขอ สปส.รบ.2000
ติดต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัดหรือสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ที่ท่านยื่นแบบคำขอ

หากประสบปัญหานายจ้างนำส่งเงินสมทบไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง
สามารถตรวจสอบได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่นายจ้างนำส่งเงินสมทบ

เกร็ดความรู้

ตามกฎหมายประกันสังคม

  • กำหนด ให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้กับลูกจ้างให้ครบทุกคนและนำส่งเงิน สมทบกับสำนักงานประกันสังคมโดยคำนวณจากฐานค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับตามความ เป็นจริง
  • ซึ่งกำหนดเพดานค่าจ้างสูงสุดและต่ำสุดที่นำมาคำนวณเงิน สมทบคือ สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท และเงินค่าจ้างขั้นต่ำคือ ไม่ต่ำกว่า 1,650 บาท
  • ดังนั้นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายสำหรับลูกจ้าง แต่ละคนในแต่ละเดือน สูงสุด 750 บาท และต่ำสุด 83 บาท

สำนักงานประกันสังคม ขอความร่วมมือนายจ้างและสถานประกอบการต่างๆ

  • ให้แจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้กับลูกจ้างให้ครบทุกคน และนำส่งเงินสมทบให้กับลูกจ้างโดยคำนวณจากฐานค่าจ้างที่ได้รับตามความเป็นจริง
  • หากนายจ้างนำส่งเงินสมทบไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงจะมีความผิดตามกฎหมายซึ่งมีบทลงโทษคือ
    จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ