Saturday, April 4, 2009

เช็คช่วยชาติ

เช็คช่วยชาติ ผ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก
โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน และบุคลากรภาครัฐ (2000 บาท)

-:- ผู้มีสิทธิ์รับเงิน
-:- ขั้นตอนการขอรับเงิน
-:- เอกสารในการยื่นเรื่อง
-:- กำหนดการเบิกจ่ายเช็ค
-:- วิธรการและขั้นตอนการรับเช็คของผู้รับบำนาญ

-:- วิธีการและขั้นตอนการรับเช็คของผู้ประกันตน
-:- รูปแบบและการตรวจสอบเช็ค
-:- การใช้เช็คช่วยชาติ
-:- การเข้าร่วมโครงการของ
ผู้ประกอบการ และร้านค้าทั่วไป

ผู้มีสิทธิ์รับเงิน

ผู้มีสิทธิได้แก่ผู้มีสัญชาติไทย ที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาท มีรายละเอียดดังนี้

  1. ประชาชนในระบบประกันสังคมจำนวน 8,138,815 คน
    • ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องมีสถานะเป็นผู้ประกันตนอยู่ ณ วันที่ 13 มกราคม 2552 และยังไม่สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน
    • ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ผู้ที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นผู้ประกันตนภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 (หน้าจอ Online แสดงผลวันที่เข้างาน ไม่เกินวันที่ 1 มกราคม 2552 ) และยังไม่สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน ณ วันที่ 13 มกราคม 255
      การสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ไม่ว่าจะมาสมัครวันที่เท่าไร ก็จะมีผลการอนุมัติในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป
    • ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผู้ที่ได้รับการอนุมัติให้เป็น ผปต.และจ่ายเงินสมทบแล้ว (ตรวจสอบฐานข้อมูล ผปต.ณ วันที่ 13 มกราคม 2552
      ไม่ว่าจะมาสมัครวันที่เท่าไร ก็จะมีผลการอนุมัติในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป
      ส่วนเงินสมทบ จะคิดคำนวณเงินสมทบตั้งแต่เดือนที่เป็นผู้ประกันตนจนถึงวันสิ้น
    • ผู้ประกันตนตามมาตรา 38(2) คือลูกจ้างที่พ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้วสำนักงานประกันสังคมจะคุ้มครองสิทธิ์ลูกจ้างต่ออีก 6 เดือน มาตรา 38 ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั่น ตาย และ สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติให้บุคคลตามมาตรา 38 ที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออกจากงาน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 มีสิทธิได้รับ “เช็คช่วยชาติ” ด้วยเช่นกัน

      หมายเหตุ
      - ในกรณีที่ประชาชนแจ้งว่าได้ออกจากงานก่อนวันที่ 13 มกราคมและยังอยู่ระหว่างได้รับการคุ้มครอง 6 เดือนตามมาตรา 38 ได้ไปลงทะเบียนและทางเจ้าหน้าที่ไม่รับลงทะเบียนไปก่อนหน้านี้ ให้แจ้งประชาชนว่าให้ไปติดต่อประกันสังคมโดยตรงเพื่อขอลงทะเบียนใหม่อีก ครั้ง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อาจจะยังไม่ได้รับการประสานข้อมูลจากทางกระทรวงแรงงาน (ข้อมูลจากเลขาธิการ สปส.ผ่านรายการเรื่องเล่าเช้านี้ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552
  2. บุคคลากรภาครัฐ จำนวน 1,324,973 คนประกอบด้วย
    • ข้าราชการพลเรือน
    • ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
    • ข้าราชการตำรวจ
    • ลูกจ้างประจำ
    • ลูกจ้างชั่วคราว
    • ข้าราชการทหาร รวมทั้งทหารเกณฑ์ (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
    • ข้าราชการบำนาญ
    • เจ้า หน้าที่ของรัฐคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ อาสาสมัครทหารพราน สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน
    • พนักงานรัฐวิสาหกิจ (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
    • บุคลากรของหน่วยงานรูปแบบพิเศษ (องค์กรมหาชน) (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
    • บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
    • บุคลากรขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
  3. กลุ่มครู บุคลากรด้านการศึกษา และบุคลากรอื่นในโรงเรียนเอกชน 132,604 คน (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52) ได้แก่
    • ครูโรงเรียนเอกชนที่อยู่ในระบบกองทุนสงเคราะห์ที่มีสิทธิรับเงิน
    • ครูที่อยู่นอกระบบกองทุนสงเคราะห์ที่ต้องตรวจสอบสาเหตุที่อบู่นอกระบบกองทุนสงเคราะห์
    • กลุ่ม บุคลากรอื่นในโรงเรียนเอกชน เช่น พนักงานขับรถยนต์ นักการภารโรง พี่เลี้ยงเด็ก ที่ต้องตรวจสอบว่าบางส่วนอาจจะควรอยู่ในระบบประกันสังคม แต่โรงเรียนไม่จัดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
  4. กรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเพิ่มเติมให้บุคคลใดเป็นผู้มีสิทธิรับเงิน กำหนดให้หน่วยงานที่บุคคล ดังกล่าวอยู่ในสังกัดดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินด้วย

ขั้นตอนการขอรับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ

กรณีผู้ประกันตนที่ทำงานกับนายจ้าง (มาตรา 33 )

  1. กรอกแบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐในส่วนของผู้ประกันตน(สปส.รบ.2000) โดย ผู้ประกันตนต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีธนาคารของผู้ประกันตนเท่านั้น
  2. ให้ยื่นแบบคำขอฯผ่านนายจ้าง เพื่อให้นายจ้างรวบรวมแบบคำขอฯ
  3. โดยนายจ้างต้องกรอกใบนำส่งแบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐฯโดยนายจ้างผู้ประกอบการ(สปส.รบ.2000/1) นำไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
  4. กรณีที่ผู้ประกันตนเกิน 100 คน นายจ้างสามารถทยอยส่งได้ โดยขอความร่วมมือนายจ้างจัดส่งภายในวันที่ 16 มีนาคม 2552

กรณีผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) และผู้ประกันตนที่ประกันตนเอง (มาตรา 40)

  • บุคคล ซึ่งออกจากงานแล้วแต่ยังส่งเงินประกันสังคมอยู่ตามมาตรา 39,40 ให้ยื่นเรื่องด้วยตนเองต่อประกันสังคม เขตพื้นที่หรือจังหวัดที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนโดยตรง
  • บุคคล ที่ออกจากงานแล้วและไม่ได้ส่งเงินประกันสังคมต่อตามมาตรา 39 หรือ 40 แต่ยังอยู่ในระหว่าง 6 เดือนที่ได้รับการคุ้มครองก็สามารถขอขึ้นทะเบียนได้โดยตรงที่สำนักงานประกัน สังคมยื่นแบบคำขอฯ ด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมที่ขึ้นทะเบียน
  • หาก ย้ายสถานที่จ่ายเงินสมทบไปยังสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา อื่นให้ยื่นแบบคำขอฯที่สำนักงานประกันสังคมที่จ่ายเงินสมทบ (สำนักงานประกันสังคมที่รับผิดชอบปัจจุบัน) ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2552

กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 38(2)

คือ ลูกจ้างที่พ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้วสำนักงานประกันสังคมจะคุ้มครองสิทธิ์ลูกจ้างต่ออีก 6 เดือน
มาตรา 38 ความเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น (1) ตาย (2) สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

  • เมื่อ วันที่ 3 มีนาคม 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติให้บุคคลตามมาตรา 38 ที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออกจากงาน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 มีสิทธิได้รับ “เช็คช่วยชาติ” ด้วยเช่นกัน
  • แนะนำให้ยื่นเรื่องที่ สปส. เขต/จังหวัดที่รับผิดชอบนายจ้างรายล่าสุด

กรณีไม่สะดวกยื่นเรื่องด้วยตนเอง

  1. ผู้ประกันตน กรอกแบบ สปส.รบ.2000 และลงชื่อให้ครบถ้วน พร้อมทั้งแนบเอกสาร โดยฝากใครมายื่นเรื่องแทนก็ได้ โดยไม่ต้องมอบอำนาจ
  2. ขอ ให้ผู้มาส่งเอกสารรับใบรับเรื่องฯ จากเจ้าหน้าที่ (ส่วนท้ายของแบบฟอร์ม) ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการสูญหาย หรือ สามารถส่งเอกสารทางไปรษณีย์ได้ แต่ ผู้ประกันตน จะไม่ได้รับใบรับเรื่องฯ (ส่วนท้ายขอบแบบฟอร์ม) ในทันที
  3. เพื่อป้องกันการสูญหาย ควรจัดส่งไปรษณีย์ แบบลงทะเบียนตอบรับ เป็นการยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารเรียบร้อยแล้ว

กรณีบุคลากรทางภาครัฐ

  • ไม่ต้องดำเนินการกรอกแบบฟอร์ม จากเดิมที่แจ้งว่าจะโอนเข้าบัญชี ตอนนี้ทางเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมแจ้งว่าจะจ่ายเป็นเช็คอย่างเดียวเท่านั้น (Update 13 มี.ค.52 )

ผู้ประกันตนและผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท ควรไปขึ้นทะเบียนกรอกแบบฟอร์ม
ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2552 หากยื่นหลังจากนี้จะได้รับเช็คช้า

กรณีครูเอกชน

ขณะนี้ สช. ได้มีหนังสือด่วนที่สุด พร้อมแนบแนวปฏิบัติการช่วยเหลือค่าครองชีพและแบบสำรวจรายชื่อ ไปยังผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพฯ และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเรียบร้อยแล้ว

  • โดยขอให้โรงเรียนตรวจสอบผู้มีสิทธิ์รับเงินช่วยเหลือ และลงรายการในแบบสำรวจ
  • จัดทำข้อมูลในรูปไฟล์ Excel พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบ
  • จัดส่งมายังกลุ่มงานทะเบียน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ถ.ราชดำเนินนอก เขตดุสิต กทม. 10300 ภายในวันที่ 25 มีนาคม 2552
  • หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาได้ที่ โทร 02281 6400, 0 2628 9024, 0 22826854, 0 2282 8655 และ 0 2282 1749

เอกสารประกอบในการยื่นเรื่อง

  1. แบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐในส่วนของผู้ประกันตน(สปส.รบ.2000) กรอกรายละเอียดให้เรียบร้อย
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ได้แก่
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธ
    • นาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หมายเหตุ

  • สำหรับ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) และผู้ประกันตนที่ประกันตนเอง (มาตรา 40) สำนักงานประกันสังคมได้จัดส่งแบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ ประชาชนและบุคลากรภาครัฐในส่วนของผู้ประกันตน (สปส.รบ.2000) ให้กับผู้ประกันตนโดยตรง
  • หากไม่ได้รับสามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.sso.go.th เลือก e–Service และเลือก ดาวน์โหลด แบบฟอร์มคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ ในส่วนของผู้ประกันตน (สปส.รบ.2000)

กำหนดการจ่ายเงิน

  • กำหนดวิธีการเบิกจ่ายเงิน โดยให้ 3 หน่วยงาน เป็นผู้เบิกเงินจากคลัง และส่งมอบเช็คให้กับ ผู้มีสิทธิรับเงิน ได้แก่
    1. สำนักงานประกันสังคม
    2. ส่วนราชการที่เป็นต้นสังกัดของผู้มีสิทธิรับเงิน
    3. กรมบัญชีกลาง (สำหรับกรณีผู้มีสิทธิรับเงินที่เป็นผู้รับเบี้ยหวัดหรือผู้รับบำนาญ
  • เช็คช่วยชาติ มูลค่า 2,000 บาทจะเริ่มมอบเช็คระหว่างวันที่ 26 มีนาคม 2552 ถึง 8 เมษายน 2552 สำหรับผู้ประกันตนที่ยื่นแบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ ประชาชนและบุคลากรภาครัฐในส่วนของผู้ประกันตน (สปส.รบ.2000) เข้ามาภายในวันที่ 6 มีนาคม 2552
  • ในส่วนของผู้ที่ยื่นแบบไม่ทัน หรือมีความจำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2552
  • ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินไม่มารับ “เช็คช่วยชาติ” หรือไม่พบตัวผู้มีสิทธิรับเงิน
    - ให้หน่วยงานซึ่งเป็นผู้ส่งมอบเช็คให้กับผู้มีสิทธิรับเงิน รีบดำเนินการมีหนังสือติดตามแจ้งให้ผู้มีสิทธิรับเงินมารับ “เช็คช่วยชาติ” ให้เสร็จสิ้นโดยเร็วภายในกำหนดระยะเวลา 90 วัน (มิถุนายน 2552)
    - เมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว หากยังไม่มีผู้มารับเช็ค ให้หน่วยงานนำเช็คไปขึ้นเงินกับธนาคาร และนำเงินส่งคืนคลังตามระเบียบของทางราชการ

วิธีการและขั้นตอนการรับเช็คช่วยชาติ (2,000 บาท)ของผู้รับบำนาญ

การตรวจสอบสิทธิ

  • ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญสามารถตรวจสอบรายชื่อและสถานที่รับเช็ค ได้ที่
  • เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง http://www.cgd.go.th/ หัวข้อ เช็คช่วยชาติผู้รับบำนาญ
  • หรือสอบถามโดยตรงได้ที่ กรมบัญชีกลาง Call Center หมายเลข 02-270-6400 หรือ 02-273-9024 02-271-0686-90 และ 02-273-9101

หลักฐานเพื่อนำไปรับเช็คสำหรับผู้รับบำนาญ

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรผู้รับบำนาญ
  • กรณี ไม่สามารถไปรับด้วยตนเอง ก็สามารถให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมารับแทนได้ โดยทำใบมอบฉันทะพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบฉันทะและผู้รับมอบฉันทะ
  • กรณี ที่ชื่อปรากฎอยู่ทางส่วนกลางหรือสำนักงานคลังจำนวนใด ๆ แต่ไม่สะดวกที่จะไปรับ ก็ให้ไปยื่น คำร้อง ณ หน่วยงานที่สะดวกจะไปติดต่อ พร้อมระบุเลขที่บัญชีธนาคารที่ประสงค์ จะให้โอนเงินเข้าบัญชีให้ (กรณีนี้ต้องใช้เวลา เพราะต้องรวบรวมคำร้องส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการนำเช็คไปขึ้นเงินก่อน และโอนเงินเข้าบัญชีผู้มีสิทธิต่อไป)

กำหนดการและสถานที่รับเช็ค

  • ผู้รับบำนาญทางส่วนกลาง รับเช็คได้ที่กรมบัญชีกลาง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป
  • ผู้รับบำนาญทางส่วนภูมิภาค รับได้ที่สำนักงานคลังจังหวัด 26 มีนาคม เป็นต้นไป

วิธีการจ่ายเช็คช่วยชาติแก่ผู้ประกันตน

ตรวจสอบบัญชีรายชื่อ

  • ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ไปตรวจสอบบัญชีรายชื่อ วัน เวลา ที่จะได้รับเช็ค ณ สถานประกอบการ
  • ผู้ ประกันตนตามมาตรา 39 ไปตรวจสอบบัญชีรายชื่อ วัน เวลา ที่จะได้รับเช็ค ณ ที่ว่าการอำเภอ (เริ่มติดประกาศตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2552

วิธีการจ่ายเช็คแก่ผู้ประกันตน ที่มีสิทธิรับเงินตามโครงการฯ 3 วิธี คือ

  1. มอบให้ผู้ประกันตน ณ สถานประกอบการของนายจ้าง
  2. มอบ ณ จุดนัดพบในอำเภอต่างๆ สำหรับผู้ประกันตนซึ่งอยู่ห่างไกลและ
  3. มอบ ณ ที่ตั้งของสำนักงานประกันสังคม หรือสถานที่ที่มีความสะดวก เช่น สนามกีฬา วัด โรงเรียน หรือ ห้างสรรพสินค้า

สำหรับผู้ประกันตนในเขตเมือง สำนักงานประกันสังคมจะประชาสัมพันธ์แจ้งผ่านนายจ้างโดยตรง หรือ ผ่านสื่อต่างๆ ด้วย

ขั้นตอนและรายละเอียดเพิ่มเติมต่าง ๆ

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33

  • ทางสนง.ประกันสังคมเขตพื้นที่ จะส่งเอกสารไปยังบริษัท แจ้งวันและสถานที่รับเช็คช่วยชาติ
  • หากไม่สามารถไปรับเช็คได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปรับเช็คแทนได้
    โดยการมอบอำนาจในการรับเช็ค เริ่มวันที่ 5 เมษายน เป็นต้นไป โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
    • กรณี ผู้ประกันตนที่มีสิทธิอยู่ในชนบทห่างไกล
      - สามารถมอบอำนาจให้เครือญาติมารับแทน โดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเจ้าหน้าที่เทศบาล เป็นพยานอย่างน้อย 1 คน ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นบุคคลใดก็ได้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
    • กรณีผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้างที่อยู่ในสายการผลิต ไม่สามารถหยุดได้หากหยุดการผลิตจะเกิดความเสียหาย
      - ให้ลูกจ้างคนหนึ่งคนใดเป็นผู้รับมอบอำนาจ พยานคือ ลูกจ้างคนอื่นที่เหลืออยู่ โดยประทับตราของบริษัทในหนังสือมอบอำนาจทุกฉบับ และนำบัตรประชาชนฉบับจริงพร้อมสำเนาที่มีการรับรองสำเนาถูกต้องของผู้มอบ อำนาจทุกคน ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่
      - ทั้งนี้ นายจ้างจะต้องมีหนังสือรับรองระบุชื่อผู้ประกันตนที่มอบอำนาจทุกคน และยืนยันว่าจะกำกับดูแล ควบคุมให้ผู้รับมอบอำนาจนำเช็คช่วยชาติ ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ไปให้ผู้ประกันตนผู้มอบอำนาจอย่างครบถ้วน
    • กรณีผู้ประกันตนเป็นลูกจ้างทำงานในสาขาต่างจังหวัด โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ
      - ไม่สะดวกในการเดินทางมารับ เช็คช่วยชาติ ที่กรุงเทพฯ สามารถมอบอำนาจให้ผู้แทนนายจ้าง มารับ “เช็คช่วยชาติ” แทนลูกจ้างผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้ พยานคือลูกจ้างที่เหลืออยู่ โดยประทับตราของบริษัทในหนังสือมอบอำนาจทุกฉบับ และมีหนังสือรับรองยืนยันว่า ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้แทนนายจ้าง ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันตนที่มีสิทธิชื่อใดบ้าง
      - รวมทั้ง ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวบัตรประชาชนที่มี การรับรองสำเนาถูกต้องของผู้มอบอำนาจทุกคนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ (Update 03/04/52 ที่มา: ข่าวประจำวันสำนักงานประกันสังคม)
  • กรณี ไม่สามารถเดินทางไปรับในวันที่ระบุในเอกสารได้
    เช็คดังกล่าวจะถูกส่งกลับไปที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ ให้ไปติดต่อขอรับเช็คได้ภายใน 90 วัน
  • กรณี ที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ซึ่งมีพนักงานตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไป
    สามารถติดต่อ สนง.ประกันสังคมในเขตพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาตั้งจุดบริการที่บริษัทได้
  • กรณี สถานประกอบการไม่สามารถรับเช็ค ตามวัน เวลา ที่ สปส.เขต / จังหวัด กำหนด
    สปส.จะจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ในการจ่ายเช็คให้กับสถานประกอบการที่มีจำนวนลูกจ้างที่มีสิทธิรับเช็คตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป
  • กรณี ที่ไม่สามารถไปรับเช็คในวันเวลา และสถานที่ที่กำหนด
    • ขอให้นายจ้างมีหนังสือร้องขอมาที่ สปส.ทางโทรสาร (Fax) หมายเลข 0-2526-1959 หรือ 0-2968-7562
    • และโทรศัพท์ไปสอบถามได้ในกรณีที่ส่ง Fax ไปยัง สปส.เรียบร้อยแล้วคือหมายเลข 0-2956-2024-5 หรือ 0-2956-2012-1
    • โดยกำหนดรายละเอียดในหนังสือฯ ดังนี้
      1. ระบุรายละเอียดของสถานประกอบการ ได้แก่ ชื่อสถานประกอบการ เลขที่บัญชีนายจ้าง สปส.ที่รับผิดชอบ ชื่อผู้ประสานงานของบริษัทฯ และหมายเลขโทรศัพท์
      2. จำนวนผู้มีสิทธิรับเช็คช่วยชาติ
      3. วัน เวลา และสถานที่ที่ สปส.เขต ระบุในการรับเช็ค
      4. ระบุเหตุผลที่ไม่สามารถรับเช็ค........................... (ที่มา: Fax สปส.)

ผู้ประกันตนมาตรา 40, 38(2)

  • ทางสนง.ประกันสังคม ยังอยู่ระหว่างหาข้อสรุปว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ประชาชนสะดวกที่สุด
  • โดยหากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ สนง.ประกันสังคมในเขตพื้นที่

ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ตามมาตรา 39)

  • ในเขต กทม.
    - สปส.จะนำ “เช็คช่วยชาติ” ไปมอบให้ ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 26-28 มี.ค. เวลา 08.00-16.00 น. (จะเริ่มแจกบัตรคิวเวลา 07.00 น.)
    - หากไม่ทันให้ติดต่อขอรับเช็คได้ที่ สปส.เขตพื้นที่ ได้ตั้งแต่วันที่ 4-8 เม.ย. และ 20 เม.ย.-15 มิ.ย.
  • ส่วนในต่างจังหวัด
    - ให้ติดต่อขอรับเช็คได้ตั้งแต่ วันที่ 26 มี.ค.-8 เม.ย. 52
    - หากไม่ทันให้ติดต่ออีกครั้งในระหว่างวันที่ 20 เม.ย.-15 มิ.ย.
  • ตรวจสอบรายชื่อได้ที่สายด่วนประกันสังคม โทร.1506 ตั้งแต่เวลา 07.00-19.00 น. หรือ http://www.sso.go.th

รูปแบบและการตรวจสอบเช็คช่วยชาติของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ข้อพึงระวัง

เช็คช่วยชาติสามารถเปลี่ยนมือได้และมีค่าเสมือนเงินสด
จึงไม่สามารถอายัดได้
ผู้ได้รับเช็คจึงต้องเก็บรักษาเป็นอย่างดี

ภาพจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดเต็ม

วิธีสังเกต 4 จุดหลัก

  1. ตัว อักษร "เช็คช่วยชาติ ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก" พิมพ์เป็นลายเส้นนูน สีน้ำเงิน ดำ และแดง เหลือบกัน เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือจะรู้สึกสะดุดกับหมึกพิมพ์ที่อยู่บนผิวกระดาษ
  2. สัญลักษณ์ "฿" ช่องจำนวนเงิน พิมพ์เป็นตัวนูน สีทองและแดงเหลือบกัน
  3. เมื่อนำเช็คไปส่องกับแบล็คไลท์ จะปรากฏตราสัญลักษณ์รูปดอกบัวของธนาคารกรุงเทพตรงกลางเช็ค
  4. ขอบเช็คต้องมีรอยปรุ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านบนและด้านล่าง

สอบถามเพิ่มเติม ศูนย์ธนาคารทางโทรศัพท์ ‘โครงการเช็คช่วยชาติ’ โทร.0 2645 5888 ทุกวัน ระหว่างเวลา 8.00 น. – 20.00 น.

การใช้เช็คช่วยชาติ

  1. เช็คช่วยชาติ มีมูลค่า 2,000 บาท จะมีอายุการใช้งาน 180 วันนับจากวันที่ที่ระบุบนเช็ค
  2. เช็คช่วยชาติที่ออกโดย ธ.กรุงเทพ สามารถนำไปเบิกเงินสดที่ธนาคารกรุงเทพฯ ได้ทุกสาขา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  3. ผู้ ถือเช็คจะต้องสลักชื่อตัวเอง 2 ครั้งด้านหลังเช็ค พร้อมเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน ในการแลกซื้อสินค้าซึ่งขณะนี้ได้ร่วมกับภาคเอกชนจำนวน 21 ราย (ตามข่าวประจำวันที่ 18 มีนาคม 2552)
    3.1 บริษัทเซ็นทรัลคอปอร์เรชั่น จำกัด ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โรบินสัน ร้านท๊อปซูเปอร์มาร์เก็ต และซูเปอร์สปอร์ต รวมกว่า 400 สาขา
    3.2 บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป
    3.3 ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ได้แก่
    - นานมีบุ๊คส์
    - บริษัทไทยสกายลาร์ค
    - กิฟฟารีน
    - Big C (บิ๊กซี)
    - Pizza (พิซซ่าฮัท)
    - KFC (เคเอฟซี)
    - CP (ซีพีเฟรชมาร์ท)
    - McDonald's (แมคโดนัล)
    - Carrefour (คาร์ฟูร์)
    - Lotus (โลตัส)
    - บริษัทอินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์
    - เมืองไทยประกันภัย
    - สมาคมโรงพยาบาลเอกชน
    - และ องค์การค้าของคุรุสภา เป็นต้น
  4. หากจะนำเข้าบัญชีของตัวเองก็สามารถทำได้เลย และต้องมีบัตรประชาชนไปแสดงด้วย เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ
  5. ส่วน ผู้ประกอบการร้านค้าที่รับเช็คไป จะนำเช็คไปเข้าบัญชีของตัวเองต่อไป หรือหากจะนำไปซื้อสินค้าต่อก็สามารถนำไปใช้ได้เช่นกัน แต่จะต้องมีการสลักชื่อและเลขบัตรประจำตัวประชนของตัวเองเช่นกัน

การเข้าร่วมโครงการของผู้ประกอบการ และร้านค้าทั่วไป

สอบถามเพิ่มเติม

สอบถามข้อมูลทั่วไป

ข้าราชการทั่วไป หากมีข้อสงสัยติดต่อ ต้นสังกัด

ส่วนข้าราชการบำนาญ ให้ติดต่อที่กรมบัญชีกลาง

มีข้อสงสัยต้องการตรวจสอบคำขอ สปส.รบ.2000
ติดต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัดหรือสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ที่ท่านยื่นแบบคำขอ

หากประสบปัญหานายจ้างนำส่งเงินสมทบไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง
สามารถตรวจสอบได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่นายจ้างนำส่งเงินสมทบ

เกร็ดความรู้

ตามกฎหมายประกันสังคม

  • กำหนด ให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้กับลูกจ้างให้ครบทุกคนและนำส่งเงิน สมทบกับสำนักงานประกันสังคมโดยคำนวณจากฐานค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับตามความ เป็นจริง
  • ซึ่งกำหนดเพดานค่าจ้างสูงสุดและต่ำสุดที่นำมาคำนวณเงิน สมทบคือ สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท และเงินค่าจ้างขั้นต่ำคือ ไม่ต่ำกว่า 1,650 บาท
  • ดังนั้นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายสำหรับลูกจ้าง แต่ละคนในแต่ละเดือน สูงสุด 750 บาท และต่ำสุด 83 บาท

สำนักงานประกันสังคม ขอความร่วมมือนายจ้างและสถานประกอบการต่างๆ

  • ให้แจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้กับลูกจ้างให้ครบทุกคน และนำส่งเงินสมทบให้กับลูกจ้างโดยคำนวณจากฐานค่าจ้างที่ได้รับตามความเป็นจริง
  • หากนายจ้างนำส่งเงินสมทบไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงจะมีความผิดตามกฎหมายซึ่งมีบทลงโทษคือ
    จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

No comments:

Post a Comment