Monday, April 6, 2009

เงินตรา

เงินตรา คือ วัตถุที่ใช้ในการแลกขายซื้อเปลี่ยน เป็นตัวแทนการวัดมูลค่าของสินค้าที่แลกเปลี่ยนกัน ในอดีตเริ่มจากการใช้เปลือกหอย อัญมณี พัฒนามาเป็นโลหะ ปัจจุบัน ใช้เป็น เหรียญ และ ธนบัตร

เหรียญ


เหรียญ เป็น วัตถุชนิดแข็ง ส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะ หรือ พลาสติก และมีลักษณะเป็น แผ่นกลม มีการนำเหรียญ มาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ใช้เป็นเงินตรามีมูลค่าสำหรับแลกเปลี่ยน เรียกว่า เหรียญกษาปณ์ ผลิตแจกจ่ายโดยรัฐบาล เหรียญถูกใช้ในรูปของเงินสดในระบบการเงินสมัยใหม่เช่นเดียวกับธนบัตร แต่ใช้ในหน่วยที่มีมูลค่าต่ำกว่า ขณะที่ธนบัตรจะถูกใช้ในหน่วยที่มีมูลค่าสูงกว่า โดยปกติ ค่าสูงสุดของเหรียญจะต่ำกว่าค่าต่ำสุดของธนบัตร มูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนของเหรียญมาจากมูลค่าทางด้านประวัติของมัน และ/หรือ มูลค่าที่แท้จริงของโลหะที่เป็นส่วนประกอบ (ตัวอย่างเช่น เหรียญทอง, เหรียญเงิน หรือเหรียญแพลตินัม)

เหรียญ นำมาใช้ในรูปของ ของรางวัล หรือ ของที่ระลึกได้ ก็จะเรียก เหรียญรางวัล และ เหรียญที่ระลึก

ธนบัตร


ธนบัตร (banknote) เป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยน ซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรจะใช้ควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์ แต่โดยทั่วไปแล้วธนบัตรมักใช้สำหรับเงินจำนวนมาก ส่วนเหรียญกษาปณ์ใช้กับเงินจำนวนน้อย หรือเศษสตางค์

ในสมัยก่อน ค่าของเงินจะวัดโดยวัตถุที่นำมาใช้เป็นเงิน เช่น เบี้ย, เงิน หรือ ทอง แต่การถือวัตถุมีค่าเหล่านี้ออกไปจำนวนมากย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สะดวกและเป็น อันตราย จึงใช้ธนบัตรเพื่อเป็นสื่อแลกเปลี่ยนแทน ธนบัตรเป็นเหมือนสัญญาว่าจะให้เงินไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งภายหลังสามารถนำไปแลกคืนเป็นเงินหรือทองได้ ภายหลังจึงเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อสิ่งของและบริการ ไม่ต้องแลกเป็นเงินหรือทองอีก

ดอกเบี้ย
ดอกเบี้ย คือเงินที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการลงทุนโดยการคำนวณเป็นอัตราร้อยละต่อปี ในทางเศรษฐศาสตร์ ดอกเบี้ยเป็นเครื่องควบคุมอัตราเงินเฟ้ออีก ด้วย คือ เมื่อใดที่เกิดอัตราเงินเฟ้อขึ้น แสดงว่า มีปริมาณเงินในตลาด(หมายถึงเงินในมือประชาชน)จำนวนมาก และสินค้าจะราคาแพงขึ้น การขึ้นดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ ทำให้เงินได้ออกจากตลาดไป ปริมาณเงินจะลดลง เงินเฟ้อก็จะลดลง

สูตรการคำนวณดอกเบี้ย

A = P+ P\cdot\left(\frac{r}{100}\right)\cdot n

เมื่อ A คือเงินรวมที่ได้รับ P คือเงินต้น r คืออัตราดอกเบี้ยต่อช่วงเวลา และ n คือจำนวนของระยะช่วงเวลา

การเงินส่วนบุคคล

การบริหารการเงินส่วนบุคคล คือ การจัดการการเงินขนาดย่อยของตัวเองโดยมีการฝึกฝนทั้งความรู้ในเรื่องการออม และนำเงินออมที่เก็บไปทำให้เกิดประโยชน์ โดยที่แต่ละคนจะมีเป้าหมายทางการเงินที่แต่ต่างกัน แต่เป้าหมายขั้นพื้นฐานของการบริหารการเงินส่วนบุคคลคือ "อิสรภาพทางการเงิน"

อิสรภาพทางการเงิน

อิสรภาพ ทางการเงิน คือ การที่คุณมีชีวิตอยู่ได้โดยที่ไม่ต้องทำงานหรือทำงานที่คุณรัก โดยที่คุณไม่ต้องคำนึกถึงรายได้หรือรายจ่ายที่คุณต้องไปหางานเพื่อให้ได้ เงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

ทำอย่างไรถึงจะได้ไปถึงอิสรภาพทางการเงิน

1. เก็บออมเงิน คือ การนำเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวันไปเก็บเพื่อไปใช้ในอนาคต อาทิ การใช้จ่ายยามฉุกเฉิน การลงทุน

  • จ่าย ให้ตัวเองก่อน คือการนำรายได้ของตัวเองหักออกมาเก็บโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับเงินที่เก็บไว้ จนกว่าจะสามารถนำเงินที่เก็บได้นำไปทำให้เกิดผลตอบแทนที่ต้องการ วิธีการกำหนดว่าคุณจะหักจากรายได้เป็นร้อยละเท่าไรขึ้นอยู่กับตัวของคุณ โดยทั่วไปจะตั้งไว้ที่ 10% เป็นขั้นต่ำ ซึ่งคุณอาจจะเพิ่มเป็น 15%, 20% หรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับความต้องการบอกแต่ละบุคคล
  • จ่ายเพิ่มให้ กับตัวเอง ทุกครั้งที่คุณมีรายจ่ายในการซื้อของให้จ่ายกับตัวเองเพิ่ม วิธีนี้จะทำเหมือนกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่คุณต้องจ่ายให้กับรัฐบาล แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มนี้คุณจะจ่ายให้ตัวเองแทน โดยจะกำหนดเป็นร้อยละเท่าไรขึ้นอยู่กับตัวของคุณ อาจจะเริ่มที่ 3% เป็นการเริ่มต้น
  • การหักจากรายจ่าย คือ ในแต่ละวันที่คุณมีรายจ่าย คุณก็ต้องหักเงินจากรายจ่ายในการใช้จ่ายของคุณในแต่ละวัน คุณอาจหักรายจ่ายจากรายได้ร้อยละเท่าไรขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง

2. นำเงินออมไปให้งอกเงย

  • ฝากธนาคาร
  • ลงทุน
  • ทำประกันชีวิต
    • ทำธุรกิจ
    • หุ้น
    • ตราสาร
    • อสังหาริมทรัพย์

No comments:

Post a Comment